Page 101 -
P. 101
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
90 วารสารมนุษยศาสตร์
และการเข้ามาของคริสต์ศาสนา สตรีได้รับแนวคิดที่สตรีเป็นผู้รับใช้บุรุษและการ
ปฏิบัติตนแบบหญิงดีหรือแม่พระ (Virgin Mary/Madonna) สตรีคือผู้รับใช้บุรุษใน
ฐานะแม่บ้านที่ดี (Good Housewife) ทันทีที่แต่งงานและมีภาระหน้าที่ภายในบ้าน
เท่านั้น ลักษณะครอบครัวฟิลิปปินส์จึงเป็นแบบที่สามีคือผู้หารายได้เข้าครอบครัว
ส่วนภรรยารับหน้าที่ดูแลบุตรและจัดการรายได้เหล่านั้น
Although Christian values were supposed to be spread
through the population, missionaries and priests soon
realized that they'd be better off adapting their doctrine as
much as possible to the local customs, rather than trying to
impose it. As it happened all over Asia, women in the
Philippines were expected to become caring and
nurturing mothers for their own children and take care
of most household chores. Also a trait found all over Asia
was the preference of most families to have male children
instead of females. (Blake, 2010: 2)
การเปลี่ยนแปลงสถานภาพและบทบาทของสตรีภายหลังยุคอาณานิคม
และคริสต์ศาสนาแสดงให้เห็นว่า อัตลักษณ์ของสตรีเกิดจากการประกอบสร้างโดย
วาทกรรมทางสังคมมิใช่ธรรมชาติของบุคคลดังที่ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
ได้เสนอแนวคิดว่าความจริงและความรู้ทั้งหลายล้วนเกิดจากการประกอบสร้างผ่าน
ทางสถาบันทางสังคม แรงกดดันทางวาทกรรม ความรู้และทฤษฎีต่างๆ แล้วแต่ว่า
ในช่วงเวลาใดความรู้นั้นจะถูกน ามาส่งเสริมหรือโต้แย้งกับวาทกรรมหลักของสังคม
“For Foucault, all knowledge is determined by a combination of social,
institutional and discursive pressure, and theoretical knowledge is no
exception. Some of this knowledge will challenge dominant discourses and
some will be complicit with them.” (Mills, 1977: 33) อัตลักษณ์ของสตรีฟิลิปปินส์
ที่เคยมีความเท่าเทียมกับชายได้ถูกแรงกดดันจากวาทกรรมของคริสต์ศาสนาในยุค