Page 106 -
P. 106
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 95
ในครัวตามล าพังและนายหญิงของบ้านมาพบเข้า เนนิตาถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมย
เธอพยายามอธิบายว่าเธอเป็นเพื่อนบ้านเป็นลูกสาวของแมริงและกาเบล เป็น
เพื่อนกับมาโนลิโต้ (Manolito) ลูกชายเจ้าของบ้าน แต่ไม่ว่าเนนิตาจะให้
ความหมายว่าตัวเธอเป็นใครก็ไม่มีความหมายเพราะสถานะเดียวของเธอคือ ขโมย
สะท้อนให้เห็นว่า คนยากจนในสายตาของคนรวยก็ยังคงเป็นแค่ขโมย คนหิว
กระหาย ผู้ขอผู้บุกรุก ซึ่งเป็นการตอกย้ าความเป็นชายขอบและความไร้ตัวตนใน
สังคมของเนนิตามากยิ่งขึ้น การเป็นลูกสาวที่แม่ไม่เคยพอใจ การเป็นเด็กสาว
ยากจน ท าให้เนนิตากลายเป็นบุคคลที่ถูกลดทอนคุณค่าและท าให้ไร้ความหมายไป
นอกจากผู้แต่งจะได้สะท้อนภาวะความแปลกแยกและความกดดันจาก
สภาวะชายขอบของตัวละครสตรีแล้ว ผู้แต่งยังได้น าเสนอตัวละครสตรีที่แหวกขนบ
ของสังคมไว้ในนวนิยายเรื่องนี้ด้วย แสดงให้เห็นว่าภายใต้การควบคุมของวาทกรรม
ทางสังคมที่มีต่อสตรีนั้นมีการโต้กลับอยู่ด้วย ดังที่ มิเชล ฟูโกต์เสนอว่า แรงกดดัน
ทางวาทกรรมไม่ได้กดทับเพียงอย่างเดียวแต่ในขณะเดียวกันจะพบว่ามีการตอบโต้
จากฝ่ายที่ถูกกดทับด้วย “Foucault tries to move the conception of power away
from this negative model towards a framework which stresses its productive
nature, that it produces as well as represses.” (Mills, 1977: 37) ซึ่งในนวนิยาย
เรื่องนี้ได้น าเสนอผ่านตัวละครสตรีคือ แมริง (Maring) และไวโอเลต้า (Violeta)
ตัวละครทั้งสองได้แสดงให้เห็นอ านาจปิตาธิปไตยและผลกระทบต่อสตรีที่ท้าทาย
วาทกรรมหลักของสังคม ผู้แต่งได้สร้างให้ตัวละคร แมริง ผู้เป็นแม่ของเนนิตา มีปูม
หลังขัดแย้ง และแสดงออกด้วยความรุนแรงกับลูก เนื่องจากแมริงเป็นบุตรสาวของ
ผู้ดีมีตระกูลแต่หนีออกจากบ้านไปกับกรรมกรหนุ่มตั้งแต่อายุ 14 ปี สร้างความอับ
อายให้แก่ตระกูล กลายเป็นที่ซุบซิบนินทาของผู้คน พ่อแม่ของเธอจึงท าเหมือนกับ
ว่าไม่เคยมีเธอเป็นลูกสาว เลือกที่จะกีดกันเธอออกไปจากความทรงจ าและเรื่องเล่า
ของครอบครัว
My mother’s marriage to my father had collapsed the
social order beyond restoration. The rich relations in the