Page 110 -
P. 110
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 99
การท าหน้าที่ทางสังคมคือการเป็นแม่และเมียโดยเข้าใจว่านี่คือเรื่องธรรมดา เป็น
ธรรมชาติของสตรีที่ดีต้องกระท า ตามแนวคิดเรื่องวาทกรรมแล้วสิ่งที่ถูกมองว่า
เป็นธรรมชาติและความจริงนั้น ล้วนถูกประกอบสร้างตามแรงกดดันจากวาทกรรม
หลักของสังคมซึ่งอาจไม่มีความเชื่อมโยงกับความเป็นจริงของบุคคลนั้นเลยก็
เป็นได้ “Thus, ideology is often characterized as false consciousness or an
imagined representation of the real conditions of existence; the position from
which this falseness is apprehended is that of critique and stands outside
ideology.” (Mills, 1977: 34) การมีอคติต่อสตรีที่เป็นโสดจึงเป็นการยอมรับอ านาจ
ของเพศชายผ่านแนวคิดของการมีครอบครัวนั่นเอง
เมื่อในชุมชนพบว่า ติยา มิลิงหนีตามไปกับเด็กหนุ่ม แม่ของเด็กหนุ่ม
กล่าวว่า “Ay,poor Juanito, abducted by her who missed the last trip years
and years ago too! Santamaria,what tragedy! That evil woman-she had no
right! When you miss the trip, you miss it! Ay, poor son, poor me!” (Bobis,
2005: 142) แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการหนีตามกันผู้ถูกป้ายผิดคือสตรีและให้ความ
สงสารกับบุรุษ นอกจากนี้มิลิงและเด็กหนุ่มได้ท้าทายวาทกรรมทางศาสนาเอาไว้
ด้วยการท าพิธีแต่งงานของตนเองในเล้าไก่ ชีวิตคู่ที่เริ่มจากผู้หญิง (ที่ถูกมองว่า)
ไม่ดีและมีวิธีการที่ไม่เป็นที่ยอมรับ (หนีตาม) จึงเป็นที่จับตามองของชุมชนที่มี
ความเชื่อทางศาสนาอย่างแรงกล้าว่าจะต้องประสบหายนะ แต่เหตุการณ์กลับไม่
เป็นเช่นนั้นเมื่อมิลิงสามารถเป็นภรรยาที่ดีและมีครอบครัวที่อบอุ่น การใช้ชีวิตคู่ที่
มีความสุขได้แสดงให้เห็นว่าความคิดที่เชื่อถือกันมานั้นเป็นเพียงมายาและอคติที่มี
ต่อสตรีและวาทกรรมทางศาสนาไม่อาจเป็นเครื่องชี้วัดความสุขและควบคุมความ
ปรารถนาที่แท้จริงของมนุษย์ได้
ดังที่ได้ยกตัวอย่างถึงตัวละครสตรีที่แหวกขนบและบทสรุปของสตรี
เหล่านั้นแล้ว ผู้แต่งไม่ได้พิพากษาให้ตัวละครเหล่านี้มีจุดจบที่เลวร้าย จึงเป็นที่
น่าสนใจว่าตัวละครที่ปฏิบัติตามขนบจารีตเป็นแม่และเมียที่ดีนั้นเป็นสตรีที่มี
ความสุขจริงหรือไม่ ตัวละครที่เป็นสตรีในขนบอย่างชัดเจนคือ นางอลาโน (Alano)