Page 113 -
P. 113
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
102 วารสารมนุษยศาสตร์
ตัวละครสตรีภายในเรื่องใช้วิธีการเหล่านี้คือ การประกอบอาหาร การรับประทาน
อาหาร การใช้จินตนาการ และการอ้อนวอนขอต่อพระเจ้า เป็นหนทางส าคัญในการ
สร้างสุข ในประการแรก ความสามารถในการประกอบอาหารสามารถเปลี่ยนแปลง
สถานภาพของตัวละครสตรีภายในเรื่องได้ ดังเช่นตัวละคร นานา ดอร่า (Nana
Dora) แม่ค้าขนมหวานที่สามารถเรียกคืนคุณค่าของตนได้ด้วยความสามารถใน
การประกอบอาหาร และเนนิตาตัวละครเอกของเรื่องที่ได้ใช้ความสามารถในการ
ประกอบอาหารในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของตน ตัวละคร นานา ดอร่าถูก
อดีตสามีทอดทิ้งเพราะเขามองว่าสตรีที่ไม่สามารถมีลูกได้นั้นไม่มีค่าพอในการร่วม
ชีวิตการมีลูกถูกก าหนดว่าเป็นคุณค่าส าคัญที่สุดของสตรี สตรีที่ไม่สามารถท า
หน้าที่นี้ได้จึงถูกลดทอนคุณค่าและไม่เป็นที่ต้องการ หลังจากการเฝ้ารออย่างไร้
ความหวัง ดอร่าได้ออกเดินทางเร่ร่อนจนกระทั่งได้มาปักหลักขายอาหารให้กับคน
ในชุมชนเรมีดิออส
ลักษณะตัวละคร ดอร่า ในเรื่องนี้คล้ายกับตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง
Chocolat (1999) ของโจแอนน์ แฮร์ริส (Joanne Harris) ที่ตัวละครเอกคือหญิง
เร่ร่อนที่ได้มาเปิดร้านขายช็อคโกแลตให้กับชุมชนคริสต์แห่งหนึ่ง นานา ดอร่า เป็น
สตรีที่คนในชุมชนไม่มีใครรู้ที่มาที่ไป ในวันหนึ่งก็พบว่านางมาตั้งแผงขายอาหาร
ก่อนจะเปลี่ยนมาขายของหวานในราคาถูกให้กับชาวบ้านในชุมชนการประกอบ
อาหารจึงมีบทบาทในการเปลี่ยนสถานภาพและเรียกคืนคุณค่าความเป็นสตรีให้กับ
นาง จากแม่บ้านผู้อาภัพและไร้ค่าส าหรับสามี นางได้กลายมาเป็นแม่ค้าขนมหวาน
ที่เป็นที่ต้องการของคนในชุมชน การประกอบอาหารจึงมีความส าคัญในการ
ประกอบสร้างตัวตนของสตรีเพราะเป็นทั้งหน้าที่ พรสวรรค์และภาษาที่สตรีใช้สร้าง
อ านาจและติดต่อสื่อสารกับสตรีด้วยกัน ดังที่ สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ กล่าวไว้ใน
อำหำรอำรมณ์ และอ ำนำจของสตรีในวรรณกรรมร้อยแก้วร่วมสมัย ว่า
อัตลักษณ์ ภาษา และมรดกตกทอดผ่านการท าครัวมี
ความส าคัญอย่างยิ่งส าหรับผู้หญิง การท าครัวเป็นหน้าที่
เป็นความช านาญ และเป็นพรสวรรค์ของผู้หญิง การท า