Page 118 -
P. 118
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 107
เนนิตาใช้วีธีการรับประทานอาหารเพื่อชดเชยความหิวทางร่างกายและ
จิตใจ อาหารเป็นความสุขเพียงอย่างเดียวที่เนนิตาสามารถหาซื้อได้ด้วยจ านวน
เงินเพียงน้อยนิดอาหารมีส่วนตอบสนองความปรารถนาและท าให้ความสุข
กลายเป็นรูปธรรมที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เนนิตาเชื่อมโยงความสุข
เข้ากับอาหารอย่างชัดเจน เธอเปรียบเทียบประสบการณ์ที่ได้รับจากการ
รับประทานขนม Turon (แป้งทอดไส้กล้วยและขนุน) ว่ากลิ่นของอาหารคือกลิ่น
ของความสุข “Ay, it sounds and smells like happiness,” I said, nose and ears
as primed as my sweeten tongue.” Happiness that is not subtle at all, I could
have added.” (Bobis, 2005: 4) ความสุขจากการรับประทานอาหารเป็นความสุขที่
เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เช่นเดียวกับการรับประทานช็อคโกแลตที่เนนิตาโปรดปราน
คือช็อคโกแลตรูปหัวใจที่เขียนว่า “I Love You” เธอกล่าวว่ามันเป็นความรักที่
“..in a cube size of a thumb,at one centavo each. Love that stuck to the roof of
the mouth” (Bobis, 2005: 56) ที่เธอสามารถซื้อหามาครอบครองได้ การได้รับ
ความหวาน ค่อยๆดูดกลืนจนละลายหายไปทีละน้อยเปรียบเหมือนความหอม
หวานในความรักและการได้ถูกรัก แม้ว่าในชีวิตจริงเนนิตาจะขาดความรักแต่เมื่อ
ได้รับประทานช็อคโกแลต เธอก็มีโอกาสได้ลิ้มรสและครอบครองความรักผ่านความ
หวานของช็อคโกแลตได้เช่นกัน
เนนิตาใช้อาหารเป็นเครื่องเยียวยาจิตใจ ในยามเศร้าหรือโหยหาความรัก
เธอก็ใช้การรับประทานเพื่อบรรเทาทุกข์ แม้บางครั้งอาหารที่รับประทานจะไม่ได้
อร่อยแต่แค่ความรู้สึกของการได้ลิ้มรสคือสิ่งส าคัญที่ช่วยให้จิตใจของเธอได้รับการ
เติมเต็มไปด้วย “All those wishes to appease stomachs and make hearts fat
with pleasure. And perhaps sweeten tempers or even spice up a storyteller’s
tongue.” (Bobis, 2005: 4) อาหารไม่ได้ท าให้เธออิ่มท้องเพียงอย่างเดียวแต่มันท า
ให้เธออิ่มใจ อิ่มในอารมณ์ในความปรารถนา แม้ว่าในความเป็นจริงเธอจะขาดไร้
และต้องเผชิญกับความทุกข์เพียงใดก็ตามนอกจากเนนิตาแล้ว ตัวละครที่ต้อง
เผชิญกับความทุกข์และใช้การประกอบอาหารเป็นวิธีการเยียวยาจิตใจคือนางอลาโน
นางได้ใช้ชีวิตคู่หลังจากลูกๆเติบโตและย้ายออกจากบ้านไปแล้วกับสามีที่เพิกเฉย