Page 105 -
P. 105
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
94 วารสารมนุษยศาสตร์
รอยต าหนิสีด า ซึ่งพ่อบอกว่าเปรียบเหมือนตัวเธอที่มีแผลเป็น แม้เนนิตาจะได้รับ
ความสนใจจากพ่อแต่ก็แสดงให้เห็นว่าพ่อมองเธอแตกต่างจากคนอื่นๆใน
ครอบครัว ความรู้สึกของเนนิต้าถูกกดให้ต่ าลงด้วยลักษณะทางกายภาพของตน
ในขณะที่ถูกกดทับด้วยความด้อยกว่าในสายตาพ่อ ความต่ าต้อยของเนนิตายังถูก
ขับเน้นด้วยแม่ของเธอเนนิตากล่าวว่าเธอเกิดมาเพื่อมีทุกอย่างตรงข้ามกับแม่
ผู้เป็นบุตรสาวของผู้ดีมีตระกูล หน้าตาสวย ผิวขาว รูปหน้าเหมือนขุนนางสูงศักดิ์
และมีกิริยาท่าทางแบบผู้ดีทุกกระเบียดนิ้ว ในขณะที่เธอมีหน้าตาไม่น่าสนใจ จมูก
กลมแบน ผิวคล้ า รับประทานอาหารด้วยมือ ลักษณะเหล่านี้ประมวลเป็นความไม่
พอใจของแม่ที่เห็นว่าเธอเป็นสัญลักษณ์ของความตกต่ าน่าอับอาย
Sometimes she looked at me as if I belonged to
someone else. I did not have her graces. Was this the
cause of her shame? I often wondered then…I am dark
and all inadequate and uneven roundness, something like
a heart, something that never comes gracefully full circle. I
can never make her happy. (Bobis, 2005: 71)
ความสัมพันธ์ระหว่างเนนิตากับแม่ท าให้เธอรู้สึกต่ าต้อยและแปลกแยก
มากขึ้น ความย้อนแย้งในตัวเองของแม่ที่พยายามปฏิเสธผลพวงจากความ
ผิดพลาดของตนเอง ความรู้สึกรังเกียจและเห็นลูกเป็นเครื่องหมายของความอัปยศ
เป็นคนอีกชนชั้นหนึ่งที่ต่างจากตัวนาง นางเรียกลูกๆของตนว่า Dirty Pig, Beggar
ซึ่งเป็นการแสดงความรังเกียจและแบ่งแยกตัวนางกับลูกๆ ในแง่หนึ่งได้สะท้อนให้
เห็นความเข้มข้นของการแบ่งแยกชนชั้นและเชื้อสายในสังคมฟิลิปปินส์ ถึงแม้แม่
ของเนนิตาจะตัดสินใจร่วมชีวิตกับบุคคลต่างชนชั้นได้แต่ก็ไม่สามารถรู้สึกเป็นส่วน
หนึ่งของชนชั้นที่ต่ ากว่าได้อย่างแท้จริง นอกจากภาวะชายขอบภายในครอบครัว
แล้ว เมื่อออกไปนอกครอบครัวเนนิตาก็ถูกกดทับด้วยความเหนือกว่าทางฐานะของ
ผู้อื่น ท าให้เธออยู่ในสภาพไร้ตัวตนและผิดที่ผิดทาง สภาวะนี้ชัดเจนที่สุดเมื่อเธอ
ถูกเชิญเข้าไปในบ้านที่หรูหราที่สุดในเมืองของครอบครัวชิง (Ching) เมื่อถูกทิ้งไว้