Page 107 -
P. 107
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
96 วารสารมนุษยศาสตร์
city,except her only sister,did not wish to know about their
kin who ran away with a mason during her first year at high
school. (Bobis, 2005: 71)
การแต่งงานข้ามชนชั้นและก่อนวัยอันควรของแมริงเป็นการท าลาย
กฎระเบียบของสังคม บทลงโทษที่เธอได้รับคือการถูกตัดออกไปจากเรื่องเล่าของ
ครอบครัวเสมือนไม่เคยอยู่ในเครือญาติ ซึ่งการถูกกีดกันนี้เกิดจากอ านาจในการจัด
ระเบียบของวาทกรรมหลัก ในที่นี้คือวาทกรรมหญิงดีและการแบ่งชนชั้นฟูโกต์ ได้
กล่าวว่า ปฏิบัติการทางสังคมที่ให้ความหมายกับสิ่งต่างๆนั้นเกี่ยวพันกับ
ความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่เป็นตัวก าหนดว่าใครที่ควรถูกกีดกันออกไปจากสังคม
วัฒนธรรมได้ประกอบสร้างอัตลักษณ์ด้วยการให้ความหมายต่อประสบการณ์ของ
บุคคลนั้น “All signifying practices that produce meaning involve
relations of power, including the power to define who is included and
who is excluded. Culture shapes identity through giving meaning to
experience, making it possible to opt for one mode of subjectivity.” (Mills, 1977:
15) การที่แมริงท้าทายระเบียบและวาทกรรมหญิงดีที่มีอ านาจมากกว่าท าให้นางถูก
กันออกไปเป็นอื่นจากสังคมลักษณะเช่นนี้เป็นผลมาจากอ านาจปิตาธิปไตยที่
ต้องการจัดระเบียบให้กับสตรีนั่นเอง
ในขณะที่เธอถูกกีดกันออกจากตระกูลและได้รับบทลงโทษจากสังคมก็
พบว่ามีการต่อต้านอยู่เช่นกัน ลักษณะส าคัญประการหนึ่งของแมริงคือ ความทะนง
ตน นางปฏิเสธความช่วยเหลือ และความสงสารจากผู้อื่น ความหยิ่งทะนงใน
ศักดิ์ศรีเป็นสิ่งเดียวที่ช่วยไม่ให้คุณค่าของนางถูกบั่นทอนแม้จะอยู่ในสถานภาพ
ชายขอบ เมื่อไม่พอใจคุณภาพชีวิตของตน แมริงได้ระบายความกดดันจากการถูก
กดทับนี้ด้วยการกดทับผู้อื่นต่อไปนางใช้ความรุนแรงต่อลูก ใช้ค าพูดที่รุนแรงต่อ
สามีการใช้ชีวิตที่ตกต่ าและการแสดงออกถึงความหิวโหยตลอดเวลาของลูกๆ ทั้ง
หกท าให้เธอรู้สึกตกต่ าและเอาตัวไม่รอด สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนตราบาปและ
บทลงโทษของสตรีที่ท าผิดจารีตประเพณี แม้ว่าสามีจะให้ความรักและไม่เคยใช้