Page 112 -
P. 112

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                           101

               การขู่ วิ่งไล่ ใช้มือจับบริเวณหน้าหรือหลังและกัด โดยใช้สถิติ T test เปรียบเทียบจ้านวนครั งของการแสดงสีหน้าที่
               เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการผูกไมตรีหรือพฤติกรรมก้าวร้าวโดยสถิติ Chi-square test เปรียบเทียบความแตกต่าง
               ระหว่างการแสดงออกทางสีหน้าในแต่ละวัยของลิงวอกภูเขา โดยใช้สถิติ One way ANOVA test และเปรียบเทียบ
               ระหว่างเพศเมียและเพศผู้ในแต่ละวัยโดยใช้สถิติ Paired Sample T test โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ PSPP
               (Free Software Foundation, Inc.) และ MYSTAT Version 12.02 (SYSTAT Software, Inc.) สถิติที่ใช้ในการ

               ทดสอบเป็นแบบสองทาง โดยมีค่านัยส้าคัญทางสถิติที่ 0.05

                                                      ผลและวิจารณ์

               รูปแบบของการแสดงออกทางสีหน้า
                     ลิงวอกภูเขามีการแสดงออกทางสีหน้าทั งหมด 5 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) Open mouth คือ อ้าปากค้างไว้

               โดยไม่เห็นเหงือกและฟันบน และจ้องไปยังลิงตัวอื่น ดังแสดงในภาพที่ 1 2) Bared teeth คือ บริเวณริมฝีปากทั งสอง
               ข้างถูกยกขึ น ซึ่งเห็นเหงือกและฟันอย่างชัดเจน 3) Eye brow คือ ยกคิ วขึ นและค้างไว้ โดยเห็นบริเวณขอบตาสีขาว
               อย่างชัดเจน และจ้องไปยังลิงตัวอื่น หรือยกคิ วขึ นลงอย่างรวดเร็วและจ้องไปยังลิงตัวอื่น 4) Teeth chatter คือ อ้า
               ปากและใช้ฟันหน้ากระทบกัน และ 5) Lip smack คือ ใช้บริเวณริมฝีปากกระทบกัน จากการศึกษาพบว่าใกล้เคียงกับ
               Maestripieri (2005) ที่รายงานการแสดงสีหน้าของลิงวอก ลิงกัง และลิงเสน พบว่ามีทั งหมด 4 รูปแบบ คือ Bared
               teeth, Teeth chatter, Lip smack, Eye brow และ Pucker หรือ Protruded lip นอกจากนี ยังใกล้เคียงกับ
               Dobson (2012) ที่รายงานว่าลิงกลุ่มมาคัคส์ (Macaque) พบการแสดงออกทางสีหน้าทั งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่ Bared

               teeth, Teeth chatter, Lip smack, Eye brow, Open mouth, Tongue protrusion และ Pucker หรือ Protruded
               lip อย่างไรก็ตามจากการศึกษาในครั งนี ไม่พบการแสดงสีหน้าแบบ Tongue protrusion คือการแลบลิ น และ
               Protruded lip หรือ Pucker คือการยื่นริมฝีปากออกมาด้านหน้า นอกจากนี  Maestripieri (1997) ยังพบว่า การ
               แสดงสีหน้าแบบ Tongue protrusion ที่พบในลิงกลุ่มมาคัคส์จะแสดงออกมาพร้อมกับกับการแสดงออกทางสีหน้า
               แบบ Teeth chatter และ Lip smack เพื่อแสดงพฤติกรรมการผูกไมตรี หรือ การยอมแพ้ (Submission) ส่วนการ
               แสดงออกทางสีหน้าแบบ Protruded lip หรือ Pucker พบมากในลิงกัง (Pig-tailed macaque) เพื่อแสดงพฤติกรรม
               การผูกไมตรี การเข้าใกล้ระยะประชิดตัวเพื่อท้าความสะอาดร่างกาย และโดยเฉพาะในช่วงผสมพันธุ์ (Maestripieri,
               2005) จากการสังเกตพบว่าลิงวอกภูเขาแสดงออกทางสีหน้าแบบ Teeth chatter และ Lip smack รูปแบบใดรูปแบบ
               หนึ่ง ไม่แสดงออกมาพร้อมกัน แต่ทั งสองรูปแบบแสดงออกมาเพื่อบ่งบอกถึงพฤติกรรมการผูกไมตรี ส่วนการแสดงออก
               ทางสีหน้าแบบ Bared teeth เพื่อแสดงถึงพฤติกรรมการยอมแพ้ ดังนั นการแสดงสีหน้าแบบ Teeth chatter, Lip

               smack และ Bared teeth ที่พบในลิงวอกภูเขามีประสิทธิภาพเพียงพอในการสื่อสารระหว่างสมาชิกในฝูง เพื่อแสดง
               ถึงพฤติกรรมการผูกไมตรีและการยอมแพ้ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ส่งผลให้การศึกษาในครั งนี ไม่พบการแสดงออก
               ทางสีหน้าแบบ Tongue protrusion และ Protruded lip หรือ Pucker ในลิงวอกภูเขา
                     สัดส่วนการแสดงออกทางสีหน้าของลิงวอกภูเขาพบว่า มีการใช้รูปแบบของ Teeth chatter มากที่สุดร้อยละ
               41.3 รองลงมาคือ Open mouth ร้อยละ 32.8 Eye brow ร้อยละ 13.7 Bared teeth ร้อยละ 9.7 และ Lip smack
               ร้อยละ 2.5 (One-way ANOVA: F =11.5, d.f. = 4, N = 60, p = 0.00) ดังแสดงในภาพที่ 2

















               วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 24 พ.ศ. 2560                  Journal of Wildlife in Thailand Vol. 24, 2017
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117