Page 114 -
P. 114

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                           103

               สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1) การขู่แบบธรรมดา เป็นการแสดงออกทางสีหน้าแบบ Open mouth ตามด้วย
               การจ้องไปยังลิงตัวอื่น ตัวอย่างเช่น ลิงจ่าฝูงใช้การขู่ประเภทนี กับลิงตัวอื่นในขณะที่กินอาหาร หรือผสมพันธุ์ เพื่อ
               ป้องกันลิงตัวอื่นเข้ามาใกล้หรือเข้ามายังบริเวณดังกล่าว 2) การขู่แบบรุนแรง เป็นการแสดงออกทางสีหน้าแบบ Open
               mouth ตามด้วยการยกคิ วค้าง หูตั ง และขนตั ง ตัวอย่างเช่น ลิงจ่าฝูงกับรองจ่าฝูงใช้การขู่ประเภทนี ในระหว่างก่อน
               การต่อสู้ ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ (Maestripieri, 1997)


               การแสดงออกทางสีหน้าและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
                     การแสดงออกทางสีหน้าของลิงวอกภูเขามีความเกี่ยวข้องกับ 2 พฤติกรรมหลัก คือ พฤติกรรมก้าวร้าว
               (Aggressive behavior) และพฤติกรรมการผูกไมตรี (Affiliative behavior) พบว่าสัดส่วนของการแสดงสีหน้าที่
               เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการผูกไมตรีร้อยละ 56.2 มากกว่าพฤติกรรมก้าวร้าวร้อยละ 43.8 (T test: t = 2.8, d.f. = 22,
               N = 24, p = 0.01) โดยการแสดงสีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการผูกไมตรีในรูปแบบของ Teeth chatter มากที่สุด
               ร้อยละ 41.3 รองลงมาคือ Bared teeth ร้อยละ 9.7 Eye brow ร้อยละ 2.7 และ Lip smack ร้อยละ 2.5 ส่วน
               รูปแบบของการแสดงสีหน้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าว มากที่สุดคือ Open mouth ร้อยละ 32.8 รองลงมา
                                                     2
               คือ Eye brow ร้อยละ 11 (Chi-square test: χ  = 30.5, d.f. = 7, N = 966, p = 0.000) นอกจากนี ยังพบว่าลิง
               วอกภูเขาแสดงพฤติกรรมและท่าทางที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางสีหน้า ดังแสดงในตารางที่ 2 จากการสังเกต
               พบว่าสมาชิกในฝูงของลิงวอกภูเขาแสดงออกทางสีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการผูกไมตรีมากกว่าพฤติกรรม
               ก้าวร้าว เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวและการต่อสู้ เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ และล้มตายของสมาชิกในฝูง อย่างไรก็ตาม
               การแสดงออกทางสีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าว พบว่ามีสัดส่วนถึงร้อยละ 43.8 เนื่องจากลิงวอกภูเขาจะ
               แสดงออกทางสีหน้าพร้อมกับพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงกับลิงตัวอื่นในฝูง โดยแสดงออกทางสี
               หน้าแบบ Open mouth และ Eye brow เมื่อลิงตัวอื่นเห็นจะหลบไปยังบริเวณอื่น ท้าให้หลีกเลี่ยงการปะทะและต่อสู้

               จากการสังเกตยังพบว่าการแสดงออกทางสีหน้าไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมการผูกไมตรี หรือพฤติกรรมก้าวร้าว
               ทั งสองรูปแบบมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ หลีกเลี่ยงการการต่อสู้ เพื่อลดการบาดเจ็บและล้มตายของสมาชิกในฝูง

               การแสดงสีหน้าในแต่ละเพศและวัย
                     ลิงวอกภูเขามีการแสดงสีหน้าที่แตกต่างกันระหว่างเพศผู้และเพศเมีย (T test: t = -6.7, d.f. = 22, N = 24, p
               = 0.000) โดยพบว่าลิงวอกภูเขาเพศผู้แสดงสีหน้าร้อยละ 62.8 มากกว่าเพศเมีย ร้อยละ 37.2 ส่วนการแสดงสีหน้ามี
               ความแตกต่างกันระหว่างวัย (One-way ANOVA: F =203.6, d.f. = 3, N = 48, p = 0.000) ซึ่งพบว่าตัวเต็มวัยแสดง
               สีหน้ามากที่สุดร้อยละ 71.5 รองลงมาคือ วัยเด็กร้อยละ 21.1 วัยก่อนตัวเต็มวัยร้อยละ 5.1 และวัยทารกร้อยละ 2.3
               เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศเมียในแต่ละวัยพบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างวัย (One-way ANOVA: F =301.7, d.f.
               = 3, N = 48, p = 0.000) โดยตัวเต็มวัยเพศเมียแสดงสีหน้ามากที่สุดร้อยละ 77.4 รองลงมาคือ วัยเด็กเพศเมียร้อยละ

               18.8 วัยทารกเพศเมียร้อยละ 2.5 และวัยก่อนตัวเต็มวัยเพศเมียร้อยละ 1.3 ส่วนเพศผู้ในแต่ละวัยพบว่ามีความ
               แตกต่างกันระหว่างวัย (One-way ANOVA: F =53.2, d.f. = 3, N = 48, p = 0.000) โดยตัวเต็มวัยเพศผู้แสดงสีหน้า
               มากที่สุดร้อยละ 68.1 รองลงมาคือ วัยเด็กเพศผู้ร้อยละ 22.5 วัยก่อนตัวเต็มวัยเพศผู้ร้อยละ 7.3 และวัยทารกเพศผู้
               ร้อยละ 2.1 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศเมียและเพศผู้ในแต่ละวัยพบว่าไม่มีความแตกต่างในการแสดงสีหน้าในตัวเต็ม
               วัยและวัยทารก แต่มีความแตกต่างในการแสดงสีหน้าในวัยเด็กและวัยก่อนตัวเต็มวัย ดังแสดงในตารางที่ 3 ซึ่ง
               เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired Sample T test โดยค่าร้อยละของเพศเมียและเพศผู้ในตัวเต็มวัยเท่ากับ 40.3 และ
               59.7 ค่าร้อยละของเพศเมียและเพศผู้ในวัยก่อนตัวเต็มวัยเท่ากับ 9.8 และ 90.2 ค่าร้อยละของเพศเมียและเพศผู้ในวัย

               เด็กเท่ากับ 33.2 และ66.8 และค่าร้อยละของเพศเมียและเพศผู้ในวัยทารกเท่ากับ 59.3 และ 40.7






               วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 24 พ.ศ. 2560                  Journal of Wildlife in Thailand Vol. 24, 2017
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119