Page 111 -
P. 111
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
100
ตารางที่ 1 รูปแบบและรายละเอียดของการแสดงออกทางสีหน้าที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในครั งนี (Maestripieri, 2005
และ Dobson, 2012)
การแสดงออกทางสีหน้า ลักษณะของการแสดงออกทางสีหน้า
1. Bared teeth บริเวณริมฝีปากทั งสองข้างถูกยกขึ น เห็นเหงือกและฟันอย่างชัดเจน
2. Teeth chatter บริเวณปากเปิดปิดอย่างรวดเร็วและริมฝีปากเปิดออกท้าให้เห็นฟันหน้า
3. Lip smack บริเวณปากและริมฝีปากเปิดปิดอย่างรวดเร็วท้าให้เกิดเสียงขึ น
4. Eye brow บริเวณหนังศรีษะและคิ วยกขึ น และอ้าปาก
5. Open mouth อ้าปากโดยไม่เห็นเหงือกและฟัน หรืออ้าปากโดยเห็นเหงือกและฟันหน้า
การเก็บข้อมูลในภาคสนาม
เก็บข้อมูลการแสดงออกทางสีหน้าของลิงวอกภูเขา ที่วัดถ ้าปลา ระหว่างเดือนมิถุนายน 2559 ถึง เดือน
พฤษภาคม 2560 ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลทั งหมด 396 ชั่วโมง โดยเก็บข้อมูลจากลิงวอกภูเขาทั งหมด 4 กลุ่ม 182 ตัว
แบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 48 ตัว กลุ่มที่ 2 68 ตัว กลุ่มที่ 3 39 ตัว และกลุ่มที่ 4 ตัว โดยมีตัวเต็มวัยเพศผู้ทั งหมด 18 ตัว ตัว
เต็มวัยเพศเมียทั งหมด 45 ตัว วัยก่อนตัวเต็มวัยเพศผู้ทั งหมด 10 ตัว วัยก่อนตัวเต็มวัยเพศเมียทั งหมด 4 ตัว วัยเด็ก
เพศผู้ทั งหมด 59 ตัว วัยเด็กเพศเมียทั งหมด 31 ตัว วัยทารกเพศผู้ทั งหมด 7 ตัว และวัยทารกเพศเมียทั งหมด 8 ตัว
การเก็บข้อมูลการแสดงออกทางสีหน้าของลิงวอกภูเขาแบ่งได้เป็น 2 วิธีโดยดัดแปลงมาจาก Altmann (1974)
และ Kaewpanus (2014) ได้แก่
1) การเก็บข้อมูลในเชิงบรรยาย (Ad-libitum method) คือเก็บข้อมูลและรายละเอียดของการแสดงออก
ทางสีหน้าและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องโดยการเขียนบรรยาย
2) วิธีการสังเกตและบันทึกของลิงวอกภูเขาแต่ละตัว (Focal animal sampling) คือการเก็บข้อมูลของลิง
วอกภูเขาแต่ละตัวในขณะที่แสดงออกทางสีหน้า ซึ่งจะท้าการบันทึกข้อมูลโดยเจาะจงไปที่ลิงวอกภูเขาที่แสดงสีหน้า
การเก็บข้อมูลจะเริ่มจากตัวแรกที่แสดงสีหน้าและตัวถัดไปที่แสดงสีหน้า โดยมีล้าดับการสังเกตและบันทึกข้อมูลจาก
ด้านซ้ายไปด้ายขวามือ เพื่อที่จะเก็บข้อมูลของลิงที่แสดงสีหน้าทั งหมดให้ครบภายในระยะเวลาที่ก้าหนด และลดความ
ล้าเอียงในการเก็บข้อมูล โดยมีรายละเอียดในการเก็บข้อมูล ดังนี ช่วงเวลาที่แสดงออกทางสีหน้า เพศและวัย ลักษณะ
ของการแสดงออกทางสีหน้า ดังตารางที่ 1 พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางสีหน้า เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว
และพฤติกรรมการผูกไมตรี การจัดจ้าแนกวัยของลิงวอกภูเขาแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดัดแปลงจาก Kaewpanus
(2014) คือ ตัวเต็มวัย (Adult) วัยก่อนตัวเต็มวัย (Sub-adult) วัยเด็ก (Juvenile) และวัยทารก (Infant) การเก็บข้อมูล
ของลิงวอกภูเขาแต่ละตัว จะท้าการสังเกตทุกๆ 15 นาที ตั งแต่ 07.00 น. ถึง 17.00 น. โดยการสังเกตการแสดงออก
ทางสีหน้าของลิงแต่ละตัว จะใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลหลังจากการสังเกตประมาณ 5-10 วินาที โดยแต่ละครั งที่
สังเกตในช่วงเวลา 15 นาที จะสังเกตและบันทึกจ้านวนของลิงวอกภูเขาที่แสดงออกทางสีหน้าให้มากที่สุด
การวิเคราะห์ข้อมูล
น้าข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลในเชิงบรรยายมารวบรวมและจัดหมวดหมู่และรูปแบบการแสดงออกทางสีหน้า
น้าข้อมูลมาวิเคราะห์หาร้อยละของรูปแบบในการแสดงออกทางสีหน้า ร้อยละของความแตกต่างระหว่างการแสดงออก
ทางสีหน้าในแต่ละวัยของลิงวอกภูเขา ร้อยละของการแสดงออกทางสีหน้าและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเชิงปริมาณ
ทั งหมดจะถูกทดสอบว่าข้อมูลมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติหรือไม่ ด้วยสถิติ The Kolmogorow-Smirnov Test เพื่อใช้
ในการตัดสินใจเลือกทดสอบแบบพาราเมตริกซ์ (Parametric statistic) หรือไร้พาราเมตริกซ์ (Non-Parametric
statistic) นอกจากนี ยังเปรียบเทียบการแสดงออกทางสีหน้าในแต่ละรูปแบบ โดยใช้สถิติ One way ANOVA test
เปรียบเทียบความแตกต่างของการแสดงออกทางสีหน้าระหว่างพฤติกรรมผูกไมตรีและพฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรม
ผูกไมตรีประกอบด้วย การเข้าใกล้ในระยะประชิดตัว และการท้าความสะอาดร่างกาย พฤติกรรมก้าวร้าว ประกอบด้วย
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 24 พ.ศ. 2560 Journal of Wildlife in Thailand Vol. 24, 2017