Page 116 -
P. 116

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                           105

               รูปแบบของพฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมการผูกไมตรี (Dominance style) มีลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างเพศผู้
               และเพศเมียคือ Tolerant dominance style พบในตัวเต็มวัยเพศผู้ และDespotic dominance style พบในตัวเต็ม
               วัยเพศเมีย ท้าให้ตัวเต็มวัยเพศผู้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมการผูกไมตรีที่หลากหลายกว่าตัวเต็มวัยเพศเมีย
               ส่งผลให้ตัวเต็มวัยเพศผู้มีการแสดงออกทางสีหน้ามากกว่าตัวเต็มวัยเพศเมีย จากผลการศึกษาโดยพิจารณารูปแบบของ
               พฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมการผูกไมตรี (Dominance style) ในแต่ละเพศและวัยของลิงวอกภูเขา สอดคล้อง

               กับการศึกษาของ Dobson (2012) ที่พบว่าลิงกลุ่มมาคัคส์ (Macaque) มีรูปแบบของพฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรม
               การผูกไมตรี (Dominance style) แบบ Despotic dominance style จะมีการแสดงออกทางสีหน้าน้อยกว่า แบบ
               Tolerant dominance style เนื่องจาก Despotic dominance style เป็นการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวในทางเดียว
               คือ ไม่มีการตอบโต้ต่อพฤติกรรมก้าวร้าวที่ได้รับจากลิงตัวอื่นโดยเฉพาะลิงที่มีล้าดับทางสังคมที่สูงกว่า ตัวอย่างเช่น ลิง
               ตัวจ่าฝูงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อลิงตัวอื่นโดยที่ลิงตัวอื่นไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวตอบโต้ ท้าให้มีการแสดงออกทาง
               สีหน้าน้อยกว่าแบบ Tolerant dominance style ที่มีแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวแบบสองทาง คือ มีการโต้ตอบของ
               พฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมการผูกไมตรีระหว่างสมาชิกในฝูง ท้าให้มีความหลากหลายของการแสดงออกทางสี
               หน้า


               ตารางที่ 3  ความแตกต่างของการแสดงสีหน้าของเพศเมียและเพศผู้ในแต่ละวัย

                       เพศเละวัย                    เพศเมีย                          เพศผู้
                ตัวเต็มวัย                                 t = -1.3, d.f. = 11, N = 24, NS
                วัยก่อนตัวเต็มวัย                      t = -7.4, d.f. = 11, N = 24, p = 0.00**
                วัยเด็ก                                t = -4.6, d.f. = 11, N = 24, p = 0.00**
                วัยทารก                                    t = -0.7, d.f. = 11, N = 24, NS


               หมายเหตุ: NS =ระดับนัยส้าคัญทางสถิติที่ p > 0.05, ** ระดับนัยส้าคัญทางสถิติที่ p < 0.01

                                                           สรุป


                     การแสดงสีหน้าเป็นการสื่อสารระหว่างสมาชิกในกลุ่มของลิงวอกภูเขา โดยมีทั งหมด 5 รูปแบบ คือ Bared
               teeth, Teeth chatter, Lip smack, Eye brow และ Open mouth ลิงวอกภูเขาแสดงสีหน้าแบบ Teeth chatter
               มากที่สุด รองลงมาคือ Open mouth, Eye brow, Bared teeth และ Lip smack การแสดงสีหน้าของลิงวอกภูเขามี
               พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องคือ พฤติกรรมการผูกไมตรีและพฤติกรรมก้าวร้าวโดยการแสดงสีหน้าแบบ Teeth chatter
               เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการผูกไมตรีมากที่สุด ส่วนการแสดงสีหน้าหน้าแบบ Open mouth เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม
               ก้าวร้าวมากที่สุด ลิงวอกภูเขามีการแสดงสีหน้าที่แตกต่างกันระหว่างเพศผู้และเพศเมีย โดยพบว่าลิงวอกภูเขาเพศผู้
               แสดงสีหน้ามากกว่าเพศเมีย ส่วนการแสดงสีหน้ามีความแตกต่างกันระหว่างวัยโดยตัวเต็มวัยเพศเมียและตัวเต็มวัยเพศ
               ผู้แสดงสีหน้ามากกว่าวัยและเพศอื่นๆ จากการศึกษาจะเห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงสีหน้า เช่น

               พฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมการผูกไมตรี เพศและวัย นอกจากนี ล้าดับขั นทางสังคมของลิงในฝูงเป็นอีกหนึ่งปัจจัย
               ที่มีผลต่อการแสดงสีหน้า ดังนั นการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างล้าดับขั นทางสังคมของลิงต่อการแสดงสีหน้า จึง
               เป็นหัวข้อที่น่าสนใจในการศึกษาในอนาคต









               วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 24 พ.ศ. 2560                  Journal of Wildlife in Thailand Vol. 24, 2017
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121