Page 109 -
P. 109

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                           98

                                                          ค้าน้า

                     ลิงวอกภูเขา หรือ ลิงไอ้เงี๊ยะ เป็นลิงโลกเก่า (Old world monkey) ในกลุ่มของลิงมาคัคส์ (Macaque) ในสกุล

               Macaca โดยลิงในกลุ่มนี พบทั งหมด 21 ชนิด ส่วนใหญ่พบการกระจายตัวในเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ ยกเว้นลิง
               บาบารี (Barbary macaque) ที่พบในแอฟริกาเหนือ (Wilson & Reeder, 2005; Fleagle, 2013; Roos et al.,
               2014) ลิงมาคัคส์ในประเทศไทยพบทั งหมด 6 ชนิด ประกอบไปด้วย 1) ลิงวอก (Rhesus macaque) 2) ลิงแสม หรือ
               ลิงหางยาง (Long-tailed macaque) 3) ลิงเสน (Stump-tailed macaque) 4) ลิงกังเหนือ (Northern Pig-tailed
               macaque) 5) ลิงกังใต้ (Sunda pig-tailed macaque) และ 6) ลิงวอกภูเขา (Assamese macaques) (Roos et
               al., 2014) ลิงมาคัคส์ สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามการกระจายตัว แหล่งที่อยู่อาศัย และลักษณะของอวัยวะเพศ
               (Fooden, 1982a, b; 1986) ดังนี  1) กลุ่ม Silenus-Sylvanus 2) กลุ่ม Sinica 3) กลุ่ม Fascicularis 4) กลุ่ม
               Arctoides โดยลิงวอกภูเขา ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Sinica ร่วมกับ Toque macaque, Bonnet macaque และ Tibetan
               macaque นอกจากนี  ลิงวอกภูเขายังถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 3 (Grad 3) ตามลักษณะของพันธุกรรมและบรรพบุรุษร่วม

               (Phylogeny) พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive behavior) และพฤติกรรมทางสังคม (Social behavior) โดยอยู่ในกลุ่ม
               เดียวกับ Stump-tailed macaque, Lion-tailed macaque, Barbary macaque, Toque macaque, Bonnet
               macaque และ Tibetan macaque (Thierry et al., 2000)
                     จากข้อมูลการจัดกลุ่มของลิงมาคัคส์ท้าให้เห็นความเชื่อมโยงของลิงที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันซึ่งมีลักษณะร่วม
               กันอยู่หลายปัจจัย หนึ่งในปัจจัยเหล่านั นคือพฤติกรรมทางสังคมซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ส้าคัญของลิงมาคัคส์ เนื่องจากลิง
               มาคัคส์มีการรวมกลุ่มแบบตัวผู้หลายตัวและตัวเมียหลายตัว (Multiple male- multiple female group) (Thierry
               et al., 2004) ดังนั นการสื่อสารระหว่างสมาชิกในกลุ่มในการแสดงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มจึงมี

               ความส้าคัญอย่างยิ่งในลิงมาคัคส์และสัตว์ในกลุ่มไพรเมต การสื่อสารของสัตว์ในกลุ่มไพรเมต ประกอบไปด้วย การ
               สื่อสารด้วยเสียง ท่าทาง การสัมผัส การดมกลิ่น และการแสดงสีหน้า (Maestripieri, 1997) การศึกษาการแสดงสีหน้า
               ของสัตว์ในกลุ่มไพรเมตค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยเสียงเนื่องจากมีอุปกรณ์ที่อ้านวยความสะดวกใน
               การศึกษา อย่างไรก็ตามในช่วงตั งแต่ปี ค.ศ. 1960 มีการศึกษาการแสดงสีหน้าเพิ่มมากขึ นโดยเฉพาะในลิงโลกเก่า
               (Old world monkey) ตัวอย่างเช่น ลิงในกลุ่มมาคัคส์และลิงบาบูน (Maestripieri, 1997, 2005; Dobson, 2012)
               เนื่องจากการแสดงสีหน้ามีความส้าคัญในการสื่อสารระหว่างสมาชิกในฝูง และยังสามารถเป็นตัวบ่งชี ถึงพฤติกรรม
               ต่างๆ เช่น พฤติกรรมทางสัมคม พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมการผูกไมตรี การผสมพันธุ์ เป็นต้น (Brandt et al.,
               1971; Maestripieri, 1997; Micheletta et al., 2013) การศึกษาการแสดงสีหน้าของลิงในกลุ่มมาคัคส์ พบว่ามีการ
               แสดงออกทางสีหน้าทั งหมด 7 รูปแบบ ได้แก่ Bared teeth, Teeth chatter, Lip smack, Eye brow, Open
               mouth, Tongue protrusion และ Protruded lip หรือ Pucker (Dobson, 2012) โดยรูปแบบการแสดงสีหน้ามี

               ความแตกต่างในลิงแต่ละชนิด แต่มีรูปแบบของการแสดงสีหน้าที่เหมือนกันของลิงในกลุ่มมาคัคส์คือ Bared teeth
               และ Open mouth (Preuschoft, 2004) การแสดงสีหน้าพบว่ามีการศึกษาในลิงกลุ่มมาคัคส์หลายชนิด ตัวอย่างเช่น
               ลิงวอก (Rhesus macaque) (Brandt et al., 1971; Maestripieri, 2005) ลิงกัง (Pig-tailed macaque) และลิงเสน
               (Stump-tailed macaque) (Maestripieri, 2005) และลิงกังด้า (Crested macaque) (Micheletta et al., 2013)
               เป็นต้น การศึกษาการแสดงสีหน้าของลิวอกภูเขา โดย Dobson (2012) ซึ่งอาศัยข้อมูลงานวิจัยของ Cooper &
               Bernstein (2008) ที่ศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมการผูกไมตรีของลิงชนิดนี  โดย Dobson (2012) รายงาน
               ว่าลิงวอกภูเขาแสดงสีหน้าใน 3 รูปแบบคือ Teeth chatter, Lip smack และ Tongue protrusion

                     ในประเทศไทยพบลิงวอกภูเขาในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               (Lekagul & McNeely, 1988; Aggimarangsee, 1992; Malaivijitnond et al., 2005; Schuelke et al., 2011;
               Roos et al., 2014) นอกจากนี  The International Union for Conservation of Nature (IUCN) ได้จัดสถานะการ
               อนุรักษ์สิ่งมีชีวิตของลิงวอกภูเขาอยู่ในสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened; NT) คือ มีแนวโน้มที่จะถูก
               คุกคามในอนาคตอันใกล้ (Boonratana et al., 2008) อย่างไรก็ตาม Office of Natural Resources and



               วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 24 พ.ศ. 2560                  Journal of Wildlife in Thailand Vol. 24, 2017
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114