Page 100 -
P. 100
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
89
เมื่อพิจารณาจากผลการเก็บข้อมูลการออกมานอกพื้นที่ของกระทิงจ านวน 62 ครั้ง ในรอบ 3 ปี ระหว่าง ปี
พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2558 พบว่าครอบคลุมพื้นที่ 111,153,997.50 ตร.ม. หรือ 111.15 ตร.กม. (ภาพที่ 2) ดังนั้น
จ านวนประชากรกระทิงที่ได้จากการศึกษานี้ภายในพื้นที่ดังกล่าวคิดเป็น 271.20 ตัว หรือ 271 ตัว ซึ่งนับว่าใกล้เคียง
กับผลการศึกษาของ Pharejeam (2016) ที่รายงานจ านวนกระทิงในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแผงม้า ว่ามีจ านวน
รวม 253 ตัว ขณะที่รายงานความหนาแน่นประชากรกระทิงไว้ 11.89 ตัว/ตร.กม. อันเป็นผลจากการส่องไฟนับ
ประชากรกระทิงจากการพบเห็นตัวโดยตรงในเวลากลางคืนตามเส้นทางรถยนต์ภายในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
ความถี่ที่พบ
ผลจากการสังเกตฝูงกระทิงบนพื้นที่สูง ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ในช่วงเวลาเช้าและ
เย็นเป็นประจ าทุกวันพบกระทิงออกมาหากินรวม 368 ครั้ง รวมจ านวนกระทิงที่พบ 8,262 ตัว จ านวนตัวที่พบมีความ
ผันแปรระหว่าง 1–121 ตัว ค่าเฉลี่ยฝูง 22.20 ตัว (SE=25.25) (ภาพที่ 3) โดยส่วนใหญ่เป็นการพบกระทิงหากินเพียง
ตัวเดียวมากที่สุด จ านวน 39 ครั้ง นอกจากนั้นเป็นการพบกระทิงหากินเป็นฝูงตั้งแต่ 2 ตัว ปกติกระทิงเพศผู้เมื่อโตมัก
เดินทางออกไปหาพื้นที่เพื่อหาที่เหมาะสมส าหรับตัวเองหรืออยู่รวมกับกระทิงเพศผู้ตัวอื่น ขณะที่กระทิงฝูง
ประกอบด้วยเพศเมียเป็นผู้น าสมาชิกภายในฝูงเป็นเพศเมีย และลูกที่ยังไม่โต (Lekagul & McNeely, 1977) จนถึง
ขนาดฝูง 121 ตัว ซึ่งเป็นขนาดฝูงกระทิงที่ใหญ่ที่สุดที่พบในพื้นที่ ขณะที่ขนาดฝูงของกระทิงจากผลการศึกษาของ
Sukmasuang et al. (1996) ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง มีค่าเฉลี่ย 6.55 (พิสัย 2-13, N=7)
ภาพที่ 3 ความถี่ของการพบจ านวนกระทิงในแต่ละครั้งบริเวณโดยรอบเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแผงม้าระหว่างเดือน
มกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559
โครงสร้างประชากร
ผลการศึกษาจากการสังเกตในรอบ 10 เดือนรวมจ านวน 368 ครั้ง จากจ านวนกระทิงที่สามารถสังเกตได้
ทั้งหมด 8,166 ตัว ที่สามารถจ าแนกเพศ และชั้นอายุ ได้จ านวน 3,890 ตัว พบกระทิงเพศผู้เต็มวัย (adult male)
จ านวน 253 ตัว หรือ 6.5% เพศเมียเต็มวัย (adult female) 1,374 ตัว (35.21%) กระทิงตัวก่อนเต็มวัย (sub adult)
225 ตัว (5.78%) วัยรุ่น (juvenile) 1,663 ตัว (42.75%) และลูก (calf) 375 ตัว (9.64%) คิดเป็นสัดส่วน ตัวเต็มวัย:
ก่อนเต็มวัย: วัยรุ่น: และลูก มีค่า 1: 0.14: 1.02: 0.23 ตามล าดับ คิดเป็นสัดส่วนเพศผู้เต็มวัยต่อเพศเมียเต็มวัย ใน
ประชากรกระทิง 1: 5.43 สัดส่วนระหว่างลูกกระทิง ต่อกระทิงตัวเต็มวัยทั้งหมด เท่ากับ 1: 1.1 (ภาพที่ 4) เมื่อ
เปรียบเทียบกับผลการศึกษาประชากรกระทิง โดย Parida et al. (2015) ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า Kuldhia
ประเทศอินเดีย ซึ่งมีลักษณะเป็นธรรมชาติ จากการพบ 453 ตัว ส่วนใหญ่เป็นเพศเมียตัวเต็มวัย (54.75%) รองลงมา
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 24 พ.ศ. 2560 Journal of Wildlife in Thailand Vol. 24, 2017