Page 59 -
P. 59
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประเทศไทย พื้นที่บางส่วนปกคลุมด้วยป่าฝนเขตร้อนชื้น (tropical rain forest) มีความหลากหลายทาง
ชีวภาพสูง ป่าฝนเขตร้อนมีพื้นที่เพียง 7 % ของโลก แต่มีชนิด (species) ของสิ่งมีชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่ง
ของโลก (Fageria, 2014)
2. ภูมิอากาศกับการเจริญเติบโตของข้าว
สภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิ แสงสว่าง ฝน และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ซึ่งมีความ
สัมพันธ์กับความชื้นของดิน เป็นปัจจัยส�าคัญที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช สภาพ
ภูมิอากาศมีอิทธิพลโดยตรงต่อกระบวนการทางสรีระและกระบวนการทางชีวเคมีของพืช และมีอิทธิพล
โดยอ้อมต่อการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช สภาพภูมิอากาศมีช่วงของค่าที่เหมาะสมส�าหรับการ
เจริญเติบโตในแต่ละระยะของข้าว
2.1 อุณหภูมิกับการเจริญเติบโตของข้าว
อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อข้าวในด้านต่างๆ ดังนี้ (1) การสังเคราะห์แสงและ
กระบวนการทางสรีระอื่นๆ ของข้าว (2) การสะสมน�้าหนักแห้งทั้งหมด และสัดส่วนของการสะสมน�้าหนัก
แห้งในแต่ละส่วน และ (3) ช่วงความยาวของระยะการเติบโตไม่อาศัยเพศ (vegetative growth stage)
จึงมีผลกระทบต่อการสะสมอาหารในใบและล�าต้น รวมถึงช่วงเวลาของระยะการสะสมแป้งในเมล็ด ซึ่งมีผล
อย่างมากต่อผลผลิตเมล็ด
1) อุณหภูมิวิกฤติ คือ อุณหภูมิที่ต�่ากว่าหรือสูงกว่านี้จะมีผลกระทบต่อข้าวอย่างชัดเจน ข้าว
มีก�าเนิดในแถบร้อนชื้นหรือกึ่งร้อนชื้น และไวต่อผลกระทบจากอุณหภูมิต�่าและสูงอย่างมาก กล่าวคือ
เมื่ออุณหภูมิต�่ากว่า 15 องศาเซลเซียสข้าวจะเป็นอันตราย และอุณหภูมิวิกฤติระดับต�่า (critical low
temperature) ของข้าว คือ 20 และอุณหภูมิวิกฤติระดับสูง (critical high temperature) คือ 39
องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส การสังเคราะห์แสงของข้าวจะลดลง อย่างไรก็ตาม
ระดับอุณหภูมิวิกฤติของข้าวส�าหรับแต่ละระยะการเจริญเติบโตมีค่าแตกต่างกันดังตารางที่ 1.1
2) ผลของอุณหภูมิต�่าต่อข้าว ช่วงการเติบโตที่ไวที่สุดต่อผลกระทบจากอุณหภูมิต�่าและอุณหภูมิ
สูง คือ 10 วันก่อนและหลังการออกดอก (flowering) โดยพบผลกระทบรุนแรงที่สุดต่อจ�านวนเมล็ดต่อ
รวงและน�้าหนักเมล็ด หากอุณหภูมิต�่าในระยะตั้งท้อง (booting stage) ซึ่งเป็นช่วงการพัฒนาไมโครสปอร์
หรือ 10-12 วันก่อนเวลาที่ช่อดอกโผล่พ้นใบธง (heading) เป็นสาเหตุส�าคัญที่ท�าให้ข้าวในแถบอบอุ่น
มีผลผลิตลดลง แม้แต่ข้าวในแถบร้อนชื้นก็ได้ผลผลิตต�่าหากอุณภูมิต�่าในช่วงเวลาดังกล่าว ผลกระทบของ
อุณหภูมิต�่าต่อข้าวในช่วงพัฒนาดอก คือ ยับยั้งการพัฒนาอับเรณู (pollen) จึงไม่มีเรณูที่แข็งแรงส�าหรับ
ถ่ายเรณู (pollination) และปฏิสนธิ (fertilization) รวงข้าวจึงมีเมล็ดลีบมาก
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ั 55