Page 61 -
P. 61

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            และเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดของข้าวแต่ละพันธุ์นั้นตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงแตกต่างกัน  และเปอร์เซ็นต์
            การติดเมล็ดที่ระยะสุกแก่มีความสัมพันธ์กับเปอร์เซ็นต์การงอกของละอองเรณูในอาหารเลี้ยงและจ�านวน

            ละอองเรณูที่งอกบนยอดเกสรเพศเมีย  แสดงว่าความมีชีวิตของละอองเรณูและการปฏิสนธินั้นถูกจ�ากัด
            โดยอุณหภูมิสูง ซึ่งพันธุ์สุพรรณบุรี 1 มีความทนทานมากที่สุด ส่วนพันธุ์สันป่าตอง 1 เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอ
            ที่สุด (เจษฎา และคณะ, 2553)

                    ดังได้กล่าวแล้วว่า  ระยะที่ดอกข้าวบาน  เป็นระยะที่ไวต่อผลกระทบจากอุณหภูมิสูงมากที่สุด
            โดยปรกติดอกข้าวบานในตอนสายและดอกบานมากที่สุด  (peak  anthesis)  ในช่วง  10.00-12.00  น.

            ส�าหรับกระบวนการที่ไวมากต่ออุณหภูมิสูง คือ การแตกของอับเรณู (anther dihiscence) การถ่ายเรณู
            การงอกของละอองเรณู ส่วนที่ไวต่อผลกระทบรองลงมา คือ การเติบโตของหลอดเรณู (pollen tube)
            ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ภายในเวลา  45  นาทีหลังจากที่ดอกข้าวแย้ม  ส่วนการปฏิสนธิเสร็จสมบูรณ์ภายในเวลา

            1.5-4 ชั่วโมง หากดอกข้าวบานอยู่ในสภาพที่อุณภูมิสูงกว่า 33.7 องศาเซลเซียส เพียง 1 ชั่วโมงก็เพียงพอ
            ที่เหนี่ยวน�าให้ดอกเป็นหมัน  (spikelet  sterility)  ได้แล้ว  แต่ก่อนดอกบานหรือหลังจากดอกบานแล้ว
            แม้จะมีอุณหภูมิ 38-41 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อความพร้อมของดอกข้าว

            ด้านเจริญพันธุ์ (spikelet fertility)
                 2.2 แสงกับการเจริญเติบโตของข้าว
                    แสง (light) หรือแสงอาทิตย์ (solar radiation) มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชดังนี้ คือ

            (1) เป็นแหล่งพลังงานส�าหรับการสังเคราะห์แสง (2) ควบคุมการเกิดสัณฐานลักษณะ (morphogenesis)
            และผลิตภาพ (productivity) (3) เป็นพลังงานที่ขับเคลื่อนให้เกิดดุลยภาพของระบบน�้าที่เชื่อมโยงต่อเนื่อง

            ระหว่างดิน-พืช-บรรยากาศ (soil-plant-atmosphere continuum) (Fageria, 2014)
                    1) ภูมิภาคที่ให้ผลผลิตข้าวสูง ประเทศที่ปลูกข้าวได้ผลผลิตสูง อยู่ในภูมิภาคที่ในช่วงฤดูการ
            ปลูกข้าวเป็นวันยาว  แดดจ้าและความเข้มแสงสูง  เช่น  ออสเตรเลีย  โปรตุเกส  สเปญ  มอรอกโค  อียิปต์

            กรีกและอิตาลี  ส�าหรับพันธุ์ข้าวที่มีศักย์ผลผลิตสูง  เมื่อปลูกในฤดูฝนก็ให้ผลผลิตต�่ากว่าการปลูกในฤดูร้อน
            ซึ่งข้าวได้รับแสงมากกว่า

                    2) แสงกับการสังเคราะห์แสง  ความยาวคลื่นแสงที่ท�าให้การสังเคราะห์แสงเกิดขึ้นได้ดี
            (photosynthetically active radiation, PAR) คือ 400-700 นาโนเมตร ในเขตร้อนชื้นและเขตอบอุ่นนั้น
            อัตราส่วนระหว่าง PAR กับรังสีที่แผ่จากดวงอาทิตย์ทั้งหมด (total solar radiation) มีค่าประมาณ 0.5

            เนื่องจากรังสีที่แผ่จากดวงอาทิตย์โดยเฉลี่ยที่ผิวโลกได้รับในเขตร้อนชื้น  มีมากกว่าเขตอบอุ่นประมาณ
            เท่าตัว  ดังนั้นหากไม่มีปัจจัยอื่นที่จ�ากัดการเจริญเติบโตของข้าว  ผลผลิตข้าวในเขตร้อนชื้นควรจะสูงกว่า
            เขตอบอุ่นประมาณสองเท่า

                                                                                            -1
                                                                                      -2
                    หน่วยของพลังงานแสงอาทิตย์ คือ คาลอรีต่อตารางเซนติเมตรต่อวัน (cal cm  day ) หรือ
                                           -2 -1
            กิโลจูลต่อตารางเมตรต่อวินาที (k J m  s ) และความสัมพันธ์ระหว่างสองหน่วยนี้ คือ k J m  s = 1.43
                                                                                        -2 -1
            cal cm  min
                   -2
                        -1
                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว              ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ั  57
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66