Page 60 -
P. 60
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 1.1 อุณหภูมิต�่า พอเหมาะและสูงส�าหรับแต่ละระยะการเติบโตของข้าว
อุณภูมิวิกฤติ (องศาเซลเซียส)
ระยะการเติบโต
ต�่า พอเหมาะ สูง
เมล็ดงอก 10 20-35 45
การเติบโตของต้นอ่อน 12-13 25-30 35
การแตกราก 16 25-28 35
การยืดตัวของใบ 7-12 31 45
การแตกแขนง 9-16 25-31 33
การเกิดดอกอ่อน 15 25-30 35
การเติบโตของช่อดอก 15-20 25-28 38
ดอกบาน 22 30-33 35
เมล็ดสุกแก่ 12-18 20-25 30
ที่มา: Yoshida (1981)
3) ผลของอุณหภูมิสูงต่อข้าว อุณหภูมิสูงมีผลกระทบต่อข้าวอย่างมากในระยะดอกบาน
(anthesis) เนื่องจากเป็นสาเหตุที่ท�าให้เกสรเพศผู้เป็นหมันและการปฏิสนธิล้มเหลว อุณหภูมิที่สูงขึ้น
ในระยะออกดอก ระหว่างการถ่ายเรณู การปฏิสนธิ และการสะสมน�้าหนักแห้งท�าให้ผลผลิตข้าวลดลง
ในระยะดอกข้าวบาน เป็นระยะที่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิสูงมากที่สุด เนื่องจากอุณหภูมิสูงระหว่าง
ดอกบานเป็นสาเหตุที่ท�าให้เกสรเพศผู้เป็นหมันและการปฏิสนธิล้มเหลว
อุณหภูมิสูงมีผลกระทบต่อการถ่ายเรณูหรือการโปรยละอองเรณูและการมีชีวิตของละออง
เรณู ท�าให้ละอองเรณูเป็นหมัน ข้าวเมล็ดลีบและเป็นหมันอัตราสูง ผลผลิตเมล็ดข้าวจึงลดลง ผลผลิตของ
เมล็ดข้าวบางพันธุ์อาจลดลง 10 % เมื่ออุณหภูมิต�่าสุดเฉลี่ยในตอนกลางคืนเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 องศาเซลเซียส
คาดว่าปัญหาวิกฤติโลกร้อน (global warming crisis) เนื่องจากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนั้น เป็นปัจจัย
หนึ่งท�าให้ผลผลิตข้าวลดลง
ผลการประเมินอิทธิพลของอุณหภูมิในช่วงดอกบานต่อความมีชีวิตของละอองเรณูและการ
ปฏิสนธิในข้าวพันธุ์หลัก 3 พันธุ์ คือ ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี 1 และสันป่าตอง 1 ปลูกในกระถางสภาพดิน
น�้าขัง โดยปลูกข้าวแต่ละชุดห่างกันชุดละ 15 วัน ทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึง
มกราคม 2552 เพื่อให้ออกดอกในช่วงอุณหภูมิสูงที่แตกต่างกัน (33.9-36.4 องศาเซลเซียส) ระหว่าง
เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน 2552 ที่ระยะดอกบาน พบว่าเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น การงอกของละอองเรณู
ในอาหารเลี้ยงและบนยอดเกสรเพศเมียรวมทั้งเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดลดลง โดยการงอกของละอองเรณู
ั
56 ประวติการปลูกข้าว และข้าวกับสภาพแวดล้อม ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว