Page 427 -
P. 427

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            6. การจัดการโพแทสเซียมส�าหรับข้าวในดินนาน�้าขัง
                     แม้ว่าการขาดโพแทสเซียมในดินไร่และดินนาจะปรากฏน้อยกว่าการขาดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส

            แต่การปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องโดยใช้พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงในพื้นที่เดิม  อาจเป็นเหตุให้โพแทสเซียมส่วน
            ส�ารองในดินร่อยหรอ  จนไม่อาจใช้พื้นที่ปลูกข้าวได้อย่างยั่งยืน  ในปัจจุบัน  พบว่าข้าวตอบสนองต่อการ
            ใส่ปุ๋ยโพแทชในแหล่งปลูกข้าวส�าคัญของโลก กล่าวคือ ประมาณ 21 % ของพื้นที่เพาะปลูกในเอเชีย และ

            29 % ของพื้นที่ทั้งหมดในลาตินอเมริกา ส่วน 50 % ของพื้นที่ลุ่มแม่น�้าอะเมซอนมีโพแทสเซียมต�่า แม้แต่
            ในสหรัฐอเมริกายังมีรายงานว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2530 พบพื้นที่ปลูกข้าวซึ่งขาดโพแทสเซียมไม่มากนัก

            แต่ในปัจจุบันพบการตอบสนองของข้าวต่อปุ๋ยโพแทชในพื้นที่ปลูกทั่วไป  อย่างไรก็ตาม  ทางหนึ่งที่จะช่วย
            บรรเทาปัญหาดังกล่าวมี 2 ประการ คือ (Fageria et al., 2011)
                     1) การใช้พันธุ์ข้าวปลูกที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้โพแทสเซียม (K-efficient cultivar) ส�าหรับ

            ปลูกในดินที่ซึ่งมีโพแทสเซียมต�่า
                     2) พรวนกลบฟางข้าวในการเตรียมดิน เพื่อหมุนเวียนโพแทสเซียมในฟางสู่พื้นที่นาอีกครั้งหนึ่ง

            เนื่องจากมีโพแทสเซียมสะสมอยู่ในฟางข้าวประมาณ 1.7 % หรือ ในฟางแห้ง 1 ตันมีโพแทสเซียม 17 กก.K
                     ส�าหรับการแก้ไขปัญหาโดยตรงที่ควรท�าอย่างต่อเนื่อง  คือใส่ปุ๋ยโพแทชอัตราเหมาะสม  ซึ่ง
            สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ดิน วิธีใส่ปุ๋ยโพแทชถูกต้อง และการใช้พันธุ์ข้าวมีประสิทธิภาพ
                 6.1 อัตราปุ๋ยโพแทช

                     การใส่ปุ๋ยในดินซึ่งมีโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต�่า ช่วยให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นดังตารางที่ 15.5
            แต่ผลการทดลองในแต่ละปี  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญ  เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

            ของแต่ละปี  ในปีแรก  การใส่ปุ๋ยโพแทชอัตรา  20  กก.K/ไร่  ให้ผลผลิตเมล็ด  940  กก./ไร่  เปรียบเทียบ
            กับข้าวจากแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยซึ่งให้ผลผลิตเมล็ดเพียง 474 กก./ไร่ หรือเพิ่มขึ้น 98 % ส่วนในปีที่สอง การใส่
            ปุ๋ยอัตราเดียวกัน  ให้ผลผลิตมากกว่าไม่ใส่ปุ๋ย  2.4  เท่า  ผลการทดลองทั้งสองปีแสดงว่าการใส่ปุ๋ยโพแทช

            สูงกว่า 20 กก.K/ไร่ ท�าให้ผลผลิตเมล็ดข้าวมีแนวโน้มลดลง
                     การเทียบมาตรฐานผลการวิเคราะห์โพแทสเซียมในดิน  (K  soil  test  calibration)  ที่พัฒนา

            ขึ้นในบราซิลส�าหรับดินนา  โดยก�าหนดระดับวิกฤติของโพแทสเซียม  (critical  K  level)  ซึ่งในกรณีนี้
            หมายถึงความเข้มข้นของโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน (วิธี Mehlich-1) ที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวสูงสุด
            ผลการศึกษาต่อเนื่องกัน  2  ปี  พบว่าปีที่  1  และ  2  ให้ผลต่างกัน  ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างผลการ

            วิเคราะห์โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้กับผลผลิตข้าว อาจแบ่งการตอบสนองต่อปุ๋ยโพแทชเป็น 3 ช่วงดังนี้
            (Fageria et al., 2003)

                     ผลการทดลองในปีที่ 1 เป็นดังนี้ ช่วงที่ 1 การเพิ่มขึ้นของโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้จาก 15
            เป็น 40 มก.K/กก.ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นตามล�าดับ ช่วงที่ 2 โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้เพิ่มจาก 40 เป็น
            70 มก.K/กก. ผลผลิตไม่เพิ่มอีกต่อไป และ ช่วงที่ 3 โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้สูงกว่า 70 มก.K/กก.

            ผลผลิตเริ่มลดลง


                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                           การจัดการธาตุหลักในนาข้าว  423
   422   423   424   425   426   427   428   429   430   431   432