Page 425 -
P. 425
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6) ข้าวซึ่งปลูกในดินที่ขาดฟอสฟอรัสมีจ�านวนรวงเพียง 69 รวง/ตารางเมตร น�้าหนักแห้งของ
ส่วนเหนือดิน 691.0 กก./ไร่ เมื่อใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตรา 3.6 กก.P/ไร่ ให้ 353 รวง/ตารางเมตร น�้าหนักแห้ง
ของส่วนเหนือดิน 1,345.60 กก./ไร่ หรือจ�านวนรวงเพิ่มขึ้น 5 เท่า และน�้าหนักส่วนเหนือดินเพิ่มขึ้น
1.94 เท่า (ตารางที่ 15.4)
ตารางที่ 15.4 อิทธิพลของฟอสฟอรัสต่อจ�านวนรวง/ตารางเมตร และน�้าหนักแห้งของส่วนเหนือดิน
อัตราปุ๋ย (กก.P/ไร่) จ�านวนรวง/ตารางเมตร น�้าหนักแห้งของส่วนเหนือดิน (กก./ไร่)
0 69 691.0
3.6 353 1,345.6
7.0 375 1,243.2
10.6 376 1,214.9
14.1 377 1,202.6
ที่มา: Fageria (2014)
7) ส�าหรับค�าแนะน�าการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตในนาข้าวของไทย พิจารณาจากผลการวิเคราะห์ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์โดยวิธี Bray II และก�าหนดอัตราปุ๋ยฟอสเฟตดังนี้ 1) ค่าวิเคราะห์ดินต�่ากว่า 5 มก.P/กก.
ใช้ 6 กก.P O /ไร่ 2) ค่าวิเคราะห์ดิน 5-10 มก.P/กก. ใช้ 3 กก.P O /ไร่ และ 3) ค่าวิเคราะห์ดินสูงกว่า
2 5 2 5
10 มก.P/กก. ไม่ต้องใส่ปุ๋ยฟอสเฟต (กรมวิชาการเกษตร, 2548)
5.2 วิธีการใส่ปุ๋ยฟอสเฟต
วิธีการใส่และช่วงเวลาการใส่ปุ๋ยฟอสเฟต คือ 1) นาด�า ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตทั้งหมดเป็นปุ๋ยรองพื้น
โดยหว่านทั่วแปลงร่วมกับปุ๋ยโพแทชทั้งหมดและปุ๋ยไนโตรเจนส่วนแรก ก่อนปักด�า 2) นาหว่านใส่ปุ๋ย
ฟอสเฟตทั้งหมด ร่วมกับปุ๋ยโพแทชทั้งหมดและปุ๋ยไนโตรเจนส่วนแรก หว่านทั่วแปลงหลังจากข้าวงอก
15-20 วัน (กรมวิชาการเกษตร, 2548)
5.3 การใช้พันธุ์ข้าวประสิทธิภาพสูง
การปลูกข้าวพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้ฟอสฟอรัส (P efficient cultivar) ในดินซึ่งมี
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต�่า จะให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ทั่วไป และใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตราต�่ากว่าจึงลดต้นทุน
การผลิต ในอนาคต การปลูกข้าวพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้ฟอสฟอรัสและประสิทธิภาพสูงในการ
ใช้ธาตุอาหารอื่นๆ จะมีความส�าคัญยิ่งขึ้น เนื่องจาก
1) ทรัพยากรดินและน�้ามีน้อยลง ในขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้น จึงมีความต้องการอาหาร เส้นใย
และพลังงานชีวมวล เพิ่มขึ้นตามล�าดับ
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การจัดการธาตุหลักในนาข้าว 421