Page 421 -
P. 421
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การแบ่งใส่ปุ๋ยข้าวในประเทศไทยมีดังนี้ 1) ในข้าวไวต่อช่วงแสงควรใส่ 2 ครั้ง คือระยะ
แรกในช่วงปักด�าส�าหรับนาด�า หรือ ในนาหว่าน 15-20 วันหลังข้าวงอก และระยะที่ข้าวก�าเนิดช่อดอก
(ก่อนข้าวออกดอก 30 วัน) 2) ในข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงควรใส่ 3 ระยะ คือระยะแรกในช่วงปักด�าส�าหรับ
นาด�า หรือ ในนาหว่าน 15-20 วันหลังข้าวงอก ระยะที่ข้าวแตกกอ (30 วันหลังใส่ปุ๋ยครั้งแรก) และระยะ
ที่ข้าวก�าเนิดช่อดอก
4.2.4 วิธีการใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยในนาข้าวใช้วิธีหว่านทั่วแปลงซึ่งเป็นการใส่ปุ๋ยบนผิวดิน การใส่ปุ๋ยนาด�าครั้งที่
หนึ่งใช้วิธีหว่านปุ๋ยทั่วแปลง แล้วคราดกลบก่อนปักด�าต้นกล้า ส่วนการท�านาแบบนาหว่านซึ่งนิยมใส่ปุ๋ย
ครั้งแรกหลังจากหว่านเมล็ดประมาณ 20 วันนั้น เป็นการหว่านทั่วแปลง การที่ปุ๋ยแอมโมเนียมหรือยูเรีย
อยู่บนผิวดินบริเวณชั้นออกซิไดส์ เป็นเหตุให้แอมโมเนียมไอออนบางส่วนถูกออกซิไดส์โดยจุลินทรีย์ดินใน
กระบวนการไนทริฟิเคชันกลายเป็นไนเทรตซึ่งเป็นรูปที่สูญเสียจากดินง่าย ประสิทธิภาพของปุ๋ยไนโตรเจน
จึงลดลง แต่เนื่องจากเป็นการยากที่จะท�าให้ปุ๋ยดังกล่าว ลงไปอยู่ในชั้นรีดิวซ์ซึ่งแอมโมเนียมมีเสถียรภาพ
มากกว่า จึงเป็นภาวะจ�ายอมที่ต้องมีการสูญเสียไนโตรเจนบางส่วนไปด้วยสาเหตุดังกล่าว อย่างไรก็ตาม
ในภาวะน�้าขัง ปุ๋ยแอมโมเนียมหรือยูเรียที่ใส่และละลายแล้วแต่ยังไม่ถูกดินดูดซับ สามารถแพร่ในน�้าได้
อย่างรวดเร็วไปยังรากข้าวและรากดูดใช้ หรือลงไปในชั้นรีดิวซ์ซึ่งมีการสูญเสียน้อย
4.3 การปลูกข้าวจีโนไทพ์ที่ใช้ไนโตรเจนอย่างมีประสิทธิภาพ
การปลูกข้าวซึ่งเป็นจีโนไทพ์ที่สามารถดูดและใช้ประโยชน์ไนโตรเจนอย่างมีประสิทธิภาพ
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยและเพิ่มก�าไรจากการผลิตข้าว อาจแบ่งข้าวออกเป็น 3 กลุ่ม ตาม
การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน คือ 1) จีโนไทพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและตอบสนองดี (efficient
and responsive) ซึ่งให้ผลผลิตสูง แม้ระดับความเป็นประโยชน์ของไนโตรเจนในดินจะต�่า และมีการ
ตอบสนองดีต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 2) จีโนไทพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและไม่ตอบสนอง (efficient and
nonresponsive) ซึ่งให้ผลผลิตสูงแม้ระดับความเป็นประโยชน์ของไนโตรเจนในดินจะต�่า แต่ไม่ตอบสนอง
ต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน และ 3) จีโนไทพ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพแต่ตอบสนองดี (inefficient and responsive)
ซึ่งให้ผลผลิตต�่าเมื่อปลูกในดินที่มีระดับความเป็นประโยชน์ของไนโตรเจนต�่า แต่มีการตอบสนองดีต่อการ
ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูง
ในทางปฏิบัติ จีโนไทพ์ที่พึงประสงค์ที่สุด คือจีโนไทพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและตอบสนองดี
เพราะ 1) สามารถให้ผลผลิตสูงแม้ระดับความเป็นประโยชน์ของไนโตรเจนในดินจะต�่า และ 2) เมื่อใส่ปุ๋ย
ไนโตรเจนก็มีการตอบสนองดี ท�าให้ผลผลิตสูงยิ่งขึ้นไปอีก ส่วนที่พึงประสงค์เป็นล�าดับที่ 2 คือ จีโนไทพ์
ที่มีประสิทธิภาพสูงและไม่ตอบสนอง ซึ่งให้ผลผลิตสูง แม้ระดับความเป็นประโยชน์ของไนโตรเจนในดิน
จะต�่า แม้จะไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ก็ถือว่าเป็นจีโนไทพ์ซึ่งมีการปรับตัวต่อสภาพดินที่มี
ความอุดมสมบูรณ์ต�่าได้ดี
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การจัดการธาตุหลักในนาข้าว 417