Page 416 -
P. 416

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               2.3 ใช้ปุ๋ยให้ถูกจังหวะเวลา (right time)
                   ในบางช่วงของการเจริญเติบโต หรือช่วงทางสรีระ (physiological stages)  ข้าวใช้ธาตุอาหาร

          บางธาตุมากกว่าช่วงอื่นหรือไวต่อการขาดแคลนธาตุอาหาร จึงต้องใช้ปุ๋ยให้ถูกจังหวะเวลา (Right time)
          เช่น การใส่ปุ๋ยสูตรต่างกันในระยะต้นกล้า ระยะก�าเนิดช่อดอกและหลังจากออกดอก
               2.4 ใส่ปุ๋ยในบริเวณที่ถูกต้อง (right place)

                   ปุ๋ยท�าปฏิกิริยากับดินและอาจถูกตรึง  บางส่วนถูกชะละลายและสูญหายไปกับการกร่อนดิน
          การใส่ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูง  คือ  ใส่ในบริเวณและด้วยวิธีการใส่  ที่ช่วยให้รากข้าวใช้ประโยชน์ได้เร็ว

          และมาก (Right place) รวมทั้งการลดระดับน�้าในนาก่อนการใส่ปุ๋ยเพื่อลดการสูญเสียปุ๋ยด้วย


          3. ผลดีของการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง

                   การใช้ปุ๋ยตามแนวทางดังกล่าวจะส่งผลดีด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ดังนี้
               3.1 ผลดีด้านเศรษฐกิจ มี 3 ประการ คือ

                   1) ชาวนาในท้องถิ่น จังหวัดและประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น
                   2) เมื่อปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางย่อมท�าให้ภาพรวมด้านเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
                   3) ผลสืบเนื่อง คือ เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ของท้องถิ่นตามมา

               3.2 ผลดีด้านสังคม เป็นผลสืบเนื่องจากผลดีทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ชุมชนและประเทศ คือ
                   1) คุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัย โภชนาการและการศึกษาของครอบครัวชาวนาดีขึ้น

                   2) มีก�าลังทรัพย์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของแรงงานเกษตรกรรม  โดยใช้เครื่องทุ่นแรง
          ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการท�างานในนา  ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยน�้าหนักผลผลิตจึงลดลง  และมีการพัฒนา
          ฝีมือแรงงานของผู้ปฏิบัติงาน

                   3) มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูล  เพื่อน�ามาใช้ในการจัดการนาข้าวและการตัดสินใจในการท�า
          กิจกรรมในนาข้าว

               3.3 ผลดีด้านสิ่งแวดล้อม มี 3 ประการ คือ
                   1) ลดการสูญเสียธาตุอาหารจากฟาร์มไปสู่สิ่งแวดล้อม โดย
                     (1) ลดการกร่อนดินซึ่งมีธาตุอาหารติดไปกับอนุภาคดิน

                     (2) ลดการเคลื่อนย้ายของธาตุอาหารลงไปปนเปื้อนน�้าใต้ดิน
                   2) ลดพลังงานที่ใช้ต่อหน่วยน�้าหนักผลผลิตข้าวลง จึงมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์พลังงาน

                   3) ปรับปรุงกระบวนการผลิต  ให้มีความเชื่อมโยงกับการเลี้ยงสัตว์  น�าไปสู่การหมุนเวียน
          ธาตุอาหารพืช ระหว่างแปลงนากับฟาร์มปศุสัตว์
                     นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่เหมาะสมยังช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

          เช่น N O อีกด้วย
               2



          412 การจัดการธาตุหลักในนาข้าว                              ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   411   412   413   414   415   416   417   418   419   420   421