Page 412 -
P. 412
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) เก็บตัวอย่างดินจากแปลงนาของตนอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ตัวอย่างดินอันเป็นตัวแทนของ
พื้นที่
2) น�าตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ แล้วได้ผลการวิเคราะห์ดินของนาแปลงนั้นโดยตรง
3) น�าผลการวิเคราะห์ดินมาใช้ เพื่อประกอบการพิจารณาในการก�าหนดชนิดและอัตราปุ๋ยที่
เหมาะสมกับนาแปลงนั้นโดยเฉพาะ
โดยหลักการ ผลการวิเคราะห์ดินซึ่งจะเป็นประโยชน์มากที่สุด คือผลการวิเคราะห์ดินที่เป็น
ปัจจุบัน (real time) ของนาแปลงนั้น ผลการวิเคราะห์ดินที่เป็นปัจจุบัน คือ ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินที่
เก็บจากแปลงนั้นก่อนปลูก หรือผลการวิเคราะห์ดินจากแปลงนั้นที่ผ่านมาไม่เกิน 3 ปี ได้มาจาก 3 วิธี คือ
1) การวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ แล้วนักวิชาการจะช่วยการแปลความหมายผลการวิเคราะห์
การก�าหนดชนิดและอัตราปุ๋ย (ตามรายละเอียดในบทที่ 15)
2) การวิเคราะห์โดยหน่วยบริการเคลื่อนที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งจะรายงานผลได้ในเวลา
ไม่นานนัก และเจ้าหน้าที่จะช่วยแนะน�าการใช้ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินด้วย
3) การประเมินด้วยชุดทดสอบแบบรวดเร็วซึ่งชาวนาท�าได้เอง ส�าหรับวิธีนี้ ต้องระบุชื่อชุดดิน
และปฏิบัติตามค�าแนะน�าการใช้ปุ๋ยนาด้วยเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด ดังรายละเอียดในบทที่ 15
บรรณานุกรม
กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. รายงานการจัดการทรัพยากรดิน เพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลักตามกลุ่มชุดดิน.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร.
กรมวิชาการเกษตร. 2548.ค�าแนะน�าการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. เอกสารวิชาการล�าดับที่ 8/2548.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2557. คุณภาพดินเพื่อการเกษตร. สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย. อาคารสรสิทธิ์
วัชโรทยาน ชั้น 1 ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
ส�านักวิจัยและพัฒนาข้าว. 2556. เขตศักยภาพการผลิตข้าวของประเทศไทย. กรมการข้าว กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพมหานคร.
ส�านักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. 2550. บัญชีธาตุอาหารในดินตามชุดดินของประเทศไทย.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพมหานคร.
SSSA. 2008. Glossary of Soil Science Terms. Soil Science Society of America.
408 ความอุดมสมบูรณ์ของดินนา
408 ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว