Page 415 -
P. 415

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            2. หลักการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง
                     หลักการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องมี 4 ประการดังต่อไปนี้

                 2.1 ชนิดปุ๋ยที่ถูกต้อง (right kind)
                     ความรู้เรื่องธาตุอาหารพืชให้แนวคิดด้านการใช้ปุ๋ย คือ ธาตุใดบ้างที่จ�าเป็นต่อการด�ารงชีวิต
            ของพืช  และหากพืชได้รับธาตุนั้นไม่เพียงพอจะมีอาการผิดปรกติ  ซึ่งแก้ไขได้เมื่อให้ธาตุนั้นจนพืชได้รับ

            อย่างเพียงพอ  ไม่อาจแก้ไขด้วยการให้ธาตุอื่น  เมื่อพืชไม่เจริญเติบโตเพราะขาดธาตุอาหารหนึ่งธาตุหรือ
            หลายธาตุ  ปุ๋ยที่ใช้จึงต้องมีธาตุอาหารตรงกับที่พืชขาดแคลน  หรือชนิดปุ๋ยที่ถูกต้อง  (Right  kind)  ซึ่ง

            ประเมินจากผลการวิเคราะห์ดิน หรือ ผลการวิเคราะห์พืช หากพืชขาดธาตุอาหารรุนแรงจะแสดงอาการ
            ผิดปรกติ ซึ่งเป็นสิ่งชี้บอกถึงภาวะขาดธาตุอาหารอีกทางหนึ่ง
                 2.2 อัตราปุ๋ยที่ถูกต้อง (right rate)

                     พืชต้องการธาตุอาหารครบทุกธาตุ  แต่ละธาตุเพียงพอและสมดุลกัน  จึงจะเจริญเติบโตตามปรกติ
            โดยความต้องการของพืชนั้น  ต้องการธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองปริมาณมาก  ต้องการจุลธาตุ

            ปริมาณน้อย หากได้รับมากเกินไปจะเป็นพิษ จึงต้องจัดการให้พืชได้รับอย่างเพียงพอและสมดุล อัตราปุ๋ย
            ที่ใช้จึงถูกต้อง (Right rate) พอเหมาะ สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ดิน
                     2.2.1 อัตราปุ๋ยข้าวที่ใช้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

                         1) ความต้องการธาตุอาหารของข้าว
                         2) ธาตุอาหารที่ข้าวได้รับจากแหล่งต่างๆ  ในดิน  ซึ่งสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์เดิม

            ของดิน
                         3) ประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารจากปุ๋ย
                         4) เป้าหมายระยะยาวของการบ�ารุงดิน

                         5) เป้าหมายด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ต้องการ
                     2.2.2 ขีดความสามารถของดินในการสนองธาตุอาหารให้แก่ข้าว ขึ้นอยู่กับกลไกต่างๆ คือ

                         1) การปลดปล่อยธาตุอาหารออก  (mineralization)  และ  ยึดธาตุอาหารกลับ
            (immobilization) ของอินทรียวัตถุ
                         2) การดูดซับ (adsorption) และการคลายการดูดซับ (desorption) ธาตุอาหารของดิน

            การตรึงไนโตรเจนของจุลินทรีย์ดิน
                         3) ปฏิกิริยาการตกตะกอน (precipitation) และการละลาย (dissolution) ซึ่งควบคุม

            ปริมาณธาตุอาหารในสารละลายดิน
                         4) ปฏิกิริยารีดักชัน/ออกซิเดชัน ซึ่งมีผลต่อเวเลนซีและการละลายของจุลธาตุบางธาตุ
                         5) การยืดตัวของรากออกไปพบธาตุอาหาร (root interception) การไหลของธาตุอาหาร

            มากับน�้า (mass flow) และการแพร่ (diffusion) ของธาตุอาหารในสารละลายดินมายังรากพืช




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                           การจัดการธาตุหลักในนาข้าว  411
   410   411   412   413   414   415   416   417   418   419   420