Page 411 -
P. 411

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            กับการเจริญเติบโตของพืชตามระดับความลึกคือ 0-15 25-50 และ 50-100 ซม. จากผิวดิน ประมวล
            สมบัติดินทางด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน ได้แก่ อินทรียวัตถุ ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน ความอิ่มตัว

            เบส  ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์  โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์  และความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาพรวม
            พร้อมข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                     ข้อสังเกตในการใช้ข้อมูลทางอ้อม มี 3 ประการ คือ

                     1) ฐานข้อมูล  แสดงข้อมูลลักษณะของดิน  และผลการวิเคราะห์ทางเคมีพื้นฐานของดินนา
            อันเป็นข้อมูลทางอ้อมหรือข้อมูลกว้างๆ  ส�าหรับชาวนา  ซึ่งสรุปได้ว่าดินในที่ลุ่มหรือดินที่ใช้ปลูกข้าวของ

            ประเทศไทยมีความแตกต่างกันมาก  กล่าวคือ  สมบัติบางประการของชั้นดินในกลุ่มชุดดินหนึ่ง  มีความ
            แตกต่างจากกลุ่มชุดดินอื่น และผลการวิเคราะห์ดินทางเคมีจากตัวอย่างดินของแต่ละชุดดิน ณ เวลาหนึ่ง
            ก็แสดงว่ามีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน  สมบัติต่างๆ  ทุกประการของดินเป็นต้นทุนซึ่งจะแสดงออกถึง

            ศักยภาพของดิน  อันจะส่งผลแตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว  ดังนั้นจึงควรมีค�าแนะน�า
            การใช้ปุ๋ยนาที่เหมาะสมกับดินนาแต่ละประเภท

                     2) ข้อมูลดินที่ปรากฏในสมบัติของชุดดินหรือกลุ่มชุดดินนั้น  เป็นสมบัติของดินที่เก็บมาท�าการ
            วิเคราะห์  ณ  เวลาที่ท�าค�าอธิบายหน้าตัดดิน  ข้อมูลบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก  ได้แก่  สมบัติดิน
            ที่เกี่ยวเนื่องกับการก�าเนิดดิน สมบัติทางกายภาพของดิน (เนื้อดิน สีดิน การระบายน�้า หรือการซึมผ่าน

            ได้ของน�้า)  เราสามารถน�าข้อมูลที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงนั้น  มาประกอบการตัดสินใจด้านการจัดการดินได้
            แต่ข้อมูลบางประการมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายในด้านสมบัติทางเคมีของดิน  เช่น  ปฏิกิริยาดิน  ปริมาณ

            ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์
                     3) ระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดินเปลี่ยนแปลงได้ตามลักษณะของการจัดการ
            ดิน เช่น การใส่ปุ๋ย (ชนิดปุ๋ย อัตราปุ๋ย และความถี่ของการใส่ปุ๋ย) การใส่ปูน และความต่อเนื่องของการ

            ปลูกข้าว เป็นต้น ประกอบกับสมบัติของดินในพื้นที่ก็มีธรรมชาติที่แปรปรวนได้ในขอบเขตหนึ่ง จึงควรใช้
            ข้อมูลนี้ประกอบกับค�าแนะน�าของนักวิชาการ

                       ชาวนาที่ไม่สามารถส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ก่อนเตรียมดินปลูกข้าว  ก็ใช้ประโยชน์จาก
            ข้อมูลทางอ้อม  เพื่อเริ่มต้นปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ปุ๋ยข้าวจากเดิม  ซึ่งมิได้พิจารณาความอุดมสมบูรณ์ของ
            ดินเลย  มาใช้ประโยชน์ข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของดินทางอ้อมที่มีอยู่ไปก่อน  อย่างไรก็ตาม  เนื่องจาก

            ข้อมูลที่สืบค้นจากเว็บไซต์อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  หากไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลตาม  URL  ที่
            ก�าหนดไว้ อาจค้นหาจากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงแทน



            6. การใช้ประโยชน์ข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของดินทางตรง
                     ในบทที่  15  ได้อธิบายหลักการใช้ปุ๋ยธาตุหลักตามผลการวิเคราะห์ดิน  เพื่อก�าหนดชนิดและ

            อัตราปุ๋ยที่เหมาะสมกับข้าว ซึ่งปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกัน โดยปฏิบัติดังนี้




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                           ความอุดมสมบูรณ์ของดินนา  407
   406   407   408   409   410   411   412   413   414   415   416