Page 417 -
P. 417
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในบทนี้จะเน้นเรื่องการจัดการธาตุอาหารหลักเพียง 3 ธาตุ จึงเริ่มจากการน�าเสนอข้อมูลอันเป็น
ผลจากการวิจัยด้านการจัดการไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมส�าหรับข้าวในดินนาน�้าขัง
4. การจัดการไนโตรเจนส�าหรับข้าวในดินนาน�้าขัง
การจัดการไนโตรเจนส�าหรับข้าวในดินนาน�้าขัง ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ ความส�าคัญของ
การจัดการไนโตรเจนในนาข้าว หลักการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าว และการปลูกข้าวจีโนไทพ์ที่ใช้
ไนโตรเจนอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1 ความส�าคัญของการจัดการไนโตรเจนในนาข้าว
การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนส�าหรับนาข้าวมี 2 แนวทาง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพไนโตรเจน และ
ลดการสูญหายของปุ๋ยที่ใส่ในนา โดยทั่วไปรากข้าวดูดปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ในดินมาใช้ประโยชน์ (recovery
of nitrogen fertilizer) ไม่เกิน 30-40 % แม้ในสภาพที่มีการจัดการอย่างดีก็ได้ไม่เกิน 60-68 %
การที่ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวต�่า เนื่องจากมีการระเหยของแอมโมเนีย (ammonia
volatilization) ดีไนทริฟิเคชัน (denitrification) ของไนเทรต การชะละลาย การตรึงแอมโมเนียมในดิน
(ammonium fixation) อิมโมบิไลเซชัน (immobilization) ของไนโตรเจนรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
ไปอยู่ในมวลชีวภาพของจุลินทรีย์ดินและสูญหายไปกับน�้าบ่า ส�าหรับการสูญเสียไนโตรเจนโดยการระเหย
ไปของแอมโมเนียนั้น ถือว่าเป็นการสูญเสียที่ส�าคัญ เนื่องจาก 5-47 % ของปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ในนาข้าว
สูญหายไปจากดินด้วยวิธีนี้
ส�าหรับการเปลี่ยนแปลงของแอมโมเนียมในดิน (รูปที่ถูกชะละลายยาก) ไปเป็นไนเทรต ซึ่งเกิด
ในดินส่วนที่เป็นชั้นออกซิไดส์ (oxidized layer) และไรโซสเฟียร์ (rhizosphere) โดยกระบวนการ
ไนทริฟิเคชัน (nitrification) ได้ไนเทรตซึ่งรากข้าวดูดไปใช้ประโยชน์ได้ แต่เป็นรูปที่ถูกชะละลายง่าย หรือ
อาจแปรสภาพเป็นแก๊สโดยกระบวนการดีไนทริฟิเคชันในชั้นดินรีดิวซ์ (reduced layer) ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง
ของการสูญเสียไนโตรเจนจากดินนาด้วย (ไรโซสเฟียร์ หมายถึงดินบริเวณรอบผิวราก ในปริมณฑลที่ห่าง
จากผิวรากไม่เกิน 5 มิลลิเมตร เป็นส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากราก จึงมีสมบัติทางชีวภาพหลายประการ
แตกต่างจากดินส่วนที่ห่างออกไป)
ดังนั้นการจัดการเพื่อให้มีไนโตรเจนเพียงพอต่อข้าว จึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย ต้องการความรู้และ
ความเข้าใจเรื่องการตอบสนองของข้าวต่อปุ๋ยไนโตรเจน และประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ทั้งนี้
เพื่อประเมินความต้องการธาตุนี้ที่แท้จริงของข้าว และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการปุ๋ยไนโตรเจน
ให้ได้ผลผลิตข้าวเชิงเศรษฐกิจและผลตอบแทนสูงสุด การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าว
มีมาตรการที่เกี่ยวกับปุ๋ย 4 อย่าง คือ 1) ใช้ปุ๋ยชนิดที่เหมาะสม (right kind) 2) ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราที่
ถูกต้องและเพียงพอ (right rate) 3) ก�าหนดช่วงเวลาการใส่ปุ๋ยถูกต้อง (right time) และ 4) วิธีการ
ใส่ปุ๋ยถูกต้อง เพื่อให้ปุ๋ยอยู่ในดินบริเวณที่พืชใช้ง่าย (right place) ดังที่ได้กล่าวแล้วในค�าน�า นอกจากนั้น
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การจัดการธาตุหลักในนาข้าว 413