Page 422 -
P. 422
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5. การจัดการฟอสฟอรัสส�าหรับข้าวในดินนาน�้าขัง
ฟอสฟอรัสเป็นอีกธาตุหนึ่งซึ่งมักขาดแคลนในดินนา ดังนั้นการจัดการธาตุนี้อย่างเหมาะสม
จึงจะท�าให้ผลผลิตข้าวสูง การจัดการฟอสฟอรัสส�าหรับข้าวในดินนาน�้าขัง ประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ
อัตราปุ๋ยฟอสเฟต วิธีการใส่ปุ๋ยฟอสเฟต และการใช้พันธุ์ข้าวประสิทธิภาพสูง
5.1 อัตราปุ๋ยฟอสเฟต
การก�าหนดอัตราปุ๋ยฟอสเฟตจากผลการวิเคราะห์ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน มีตัวอย่าง
จากการทดลองดังต่อไปนี้
1) ในการศึกษาเพื่อหาอัตราการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตที่เหมาะสมส�าหรับการผลิตข้าวนั้น นักวิชาการ
ได้ศึกษา 2 ขั้นตอน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราปุ๋ยฟอสเฟตกับผลผลิตสัมพัทธ์ (relative yield) ของ
ข้าวที่ปลูกในเขตนิเวศเกษตร (agro-ecological region) ต่างๆ และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างผลการ
วิเคราะห์ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน กับผลผลิตสัมพัทธ์ของข้าว ผลการทดลองในดินอินเซ็บทิซอล
ของบราซิล ในภาพที่ 15.2 และ 15.3 แสดงว่าผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอัตราปุ๋ยฟอสเฟต และได้
ผลผลิตสูงสุดเมื่อใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตรา 42.4 กก.P/ไร่ (กก.P O = กก.Px2.29)
2 5
ภาพที่ 15.2 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราปุ๋ยฟอสเฟต (อัตราระหว่าง 13.92 กก.P/ไร่ หรือ 87 กก.P/เฮ็กตาร์
ถึง 69.60 กก.P/ไร่ หรือ 435 กก.P/เฮ็กตาร์) กับผลผลิตสัมพัทธ์ (relative yield) ของข้าว
นาน�้าขังในดินอินเซ็บทิซอลของบราซิล (relative yield หรือผลผลิตสัมพัทธ์ (%) = ผลผลิตที่ได้
x 100)/ผลผลิตสูงสุด) ที่มา: Fageria (2014)
418 การจัดการธาตุหลักในนาข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว