Page 424 -
P. 424
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4) ผลการวิจัยของสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศที่ประเทศฟิลิปปินส์ แสดงว่าในดินนาที่ไม่มี
แคลเซียมคาร์บอเนต หรือมีต�่า ผลการวิเคราะห์ดินโดยวิธีของ Olsen และ Bray-1 มีความสัมพันธ์กับ
การตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตดังตารางที่ 15.3
ตารางที่ 15.2 ความสัมพันธ์ระหว่างผลการวิเคราะห์ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (สกัดด้วยวิธี
Mehlich 1) อัตราปุ๋ยฟอสเฟตที่ควรใช้
ผลการวิเคราะห์ ความหมาย ผลผลิตสัมพัทธ์ มาจากแปลงที่ใส่ อัตราปุ๋ยฟอสเฟต
ดิน (มก.P/กก) (%) ปุ๋ยฟอสเฟตอัตรา ที่ควรใส่เพิ่มเติม
(กก.P/ไร่) (กก.P/ไร่)
0-3.6 ต�่ามาก 0-70 16.0 10.6
3.6-6.4 ต�่า 70-90 27 10.6
6.4-12.0 ปานกลาง 90-100 44 7.0
>12.0 สูง 100 >44 3.5
ที่มา : Fageria (2014)
ตารางที่ 15.3 ความสัมพันธ์ระหว่างผลการวิเคราะห์ฟอสฟอรัสในดินนา กับการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย
ฟอสเฟตของข้าว
ระดับที่ประเมิน การตอบสนองต่อการ Olsen-P (มก.P/กก.) Bray-1P (มก.P/กก.)
ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต
ต�่า ตอบสนองอย่างมาก <5 <7
ปานกลาง ตอบสนอง 5-10 7-20
สูง ไม่ตอบสนอง >10 >20
ที่มา : Fairhurst et al.(2007)
5) ข้าวแต่ละพันธุ์ซึ่งปลูกในดินชนิดเดียวกัน ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตต่างกัน ผลการ
เปรียบเทียบอัตราปุ๋ยฟอสเฟตที่ให้ผลผลิตสูงสุด พบว่าในบรรดาพันธุ์ข้าว 12 พันธุ์ที่ทดสอบ บางพันธุ์ให้
ผลผลิตสูงสุดเมื่อใช้ปุ๋ยฟอสเฟต 8.16 กก.P/ไร่ ขณะที่บางพันธุ์ใช้ 11.2 กก.P/ไร่
420 การจัดการธาตุหลักในนาข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว