Page 429 -
P. 429
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผลการวิจัยของสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศที่ประเทศฟิลิปปินส์ แสดงว่าผลการวิเคราะห์
โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินนา มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยโพแทช ดังตารางที่ 15.7
ตารางที่ 15.7 ความสัมพันธ์ระหว่างผลการวิเคราะห์โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินนากับการ
ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยโพแทชของข้าว
โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
ระดับที่ประเมิน การตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยโพแทช
(cmol /กก.)*
c
ต�่า ตอบสนองอย่างมาก <0.15
ปานกลาง ตอบสนอง 0.15-0.45
สูง ไม่ตอบสนอง >0.45
ที่มา : Fairhurst et al. (2007) *น�้าหนักโมเลกุลของโพแทสเซียม 39.1
ส�าหรับค�าแนะน�าการใช้ปุ๋ยโพแทชในนาข้าวของไทย พิจารณาจากผลการวิเคราะห์โพแทสเซียม
ที่แลกเปลี่ยนได้โดยการสกัดด้วยแอมโมเนียมแอซีเตต ความเข้มข้น 1 นอร์มาล พีเอช 7 และก�าหนดอัตรา
ปุ๋ยโพแทชส�าหรับข้าวดังนี้ 1) ค่าวิเคราะห์ดินต�่ากว่า 60 มก.K/กก. ใช้ 6 กก.K O/ไร่ 2) ค่าวิเคราะห์ดิน
2
60-80 มก.K/กก. ใช้ 3 กก.K O/ไร่ และ 3) ค่าวิเคราะห์ดินสูงกว่า 80 มก.K/กก. ไม่ต้องใส่ปุ๋ยโพแทช
2
(กรมวิชาการเกษตร, 2548)
6.2 วิธีใส่ปุ๋ยโพแทช
วิธีการใส่และช่วงเวลาการใส่ปุ๋ยโพแทช คือ 1) นาด�า ใส่ปุ๋ยโพแทชทั้งหมดเป็นปุ๋ยรองพื้น โดย
หว่านทั่วแปลง ร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟตทั้งหมดและปุ๋ยไนโตรเจนส่วนแรก ก่อนปักด�า 2) นาหว่าน ใส่ปุ๋ย
โพแทชทั้งหมด ร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟตทั้งหมดและปุ๋ยไนโตรเจนส่วนแรก หว่านทั่วแปลงหลังจากข้าวงอก
15-20 วัน (กรมวิชาการเกษตร, 2548)
6.3 การใช้พันธุ์ข้าวมีประสิทธิภาพ
การปลูกพันธุ์ข้าวที่มีประสิทธิภาพในการใช้โพแทสเซียม เป็นวิธีหนึ่งในสร้างเสถียรภาพการ
ผลิตข้าวในอนาคต เพราะพันธุ์ข้าวที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้ปุ๋ยจะให้ผลผลิตดีใน 2 สถานการณ์ คือ
ภายใต้สภาพการผลิตที่มีปัจจัยการผลิตพร้อม และสภาพที่มีปัจจัยการผลิตจ�ากัด อย่างไรก็ตาม การสร้าง
พันธุ์ข้าวที่มีประสิทธิภาพในการใช้ธาตุอาหาร ซึ่งรวมถึงประสิทธิภาพการใช้โพแทสเซียม ต้องอาศัยความ
ร่วมมือของหลายฝ่าย เช่น นักวิชาการด้านพันธุศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ ปฐพีวิทยา พืชศาสตร์และ
สรีรวิทยา เพราะประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารของข้าว นอกจากจะควบคุมด้วยพันธุกรรมของพืชแล้ว
สภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ ยังมีอิทธิพลอย่างสูงด้วย
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การจัดการธาตุหลักในนาข้าว 425