Page 432 -
P. 432
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อเสร็จการทดลอง ก็เก็บข้อมูลน�้าหนักแห้งของส่วนเหนือดิน ผลผลิตเมล็ด องค์ประกอบ
ผลผลิต ผลผลิตตอซัง ปริมาณธาตุหลักที่ดูดสะสม แล้วน�าข้อมูลไปประมวลผล
7.2 ผลการทดลองที่จังหวัดสุพรรณบุรี
การทดลองเพื่อประเมินผลการจัดการธาตุอาหารอันเหมาะสมเฉพาะที่ ส�าหรับนาข้าวที่จังหวัด
สุพรรณบุรี (Satawathananont et al., 2004) แสดงว่าเมื่อประเมินด้วยตัวชี้บอกต่อไปนี้ คือ ผลผลิต
เมล็ด ปริมาณการดูดสะสม ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ประสิทธิภาพการผลิต (agronomic
efficiency) และประสิทธิภาพการดูดใช้ไนโตรเจน (recovery efficiency of N) วิธีการดังกล่าวให้
ผลดีกว่าการใช้ปุ๋ยตามแบบของเกษตรกรเล็กน้อย เนื่องจากมีอิทธิพลที่มีผลกระทบหลายด้าน เช่น โรค
และแมลงศัตรูข้าว วัชพืช และการจัดการน�้า
ตอนที่ 2
ค�าแนะน�าการใช้ปุ๋ยนาในประเทศไทย
ค�าแนะน�าการใช้ปุ๋ยนาในประเทศไทยมี 2 ระบบ คือ (1) พิจารณาจากผลการวิเคราะห์ดิน หรือ
ใช้ปุ๋ยตามผลการประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และ (2) พิจารณาจากประเภทเนื้อดิน ชนิด
และอัตราปุ๋ยส�าหรับข้าวที่ปลูกในดินเนื้อละเอียดและดินเนื้อหยาบจะแตกต่างกัน
การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน หมายถึงการตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่าดินที่ปลูกพืชนั้น
ในขณะนี้มีธาตุใดขาดแคลนบ้าง หากพบว่าธาตุใดธาตุหนึ่งขาดแคลนมาก ปานกลาง หรือเล็กน้อย ก็แนะน�า
ให้ใส่ปุ๋ยของธาตุนั้นในอัตราที่พอเหมาะ ซึ่งจะช่วยให้พืชมีผลผลิตสูง การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ท�าได้ 3 วิธี คือ (1) การสังเกตอาการผิดปรกติของพืช (2) การวิเคราะห์ดิน และ (3) การวิเคราะห์ใบพืช
ผลการประเมินจะแสดงว่าดินมีระดับความอุดมสมบูรณ์สูง ปานกลาง หรือต�่า เมื่อใช้ปลูกพืชชนิดหนึ่ง
1. วิธีการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
1.1 การสังเกตอาการผิดปรกติของข้าว
ในกรณีที่ข้าวขาดธาตุอาหารอย่างรุนแรง จนแสดงอาการผิดปรกติจนสังเกตเห็นได้ อาการผิด
ปรกติของข้าวที่พบ ก็บ่งบอกชนิดและระดับความรุนแรงของการขาดธาตุอาหารได้ เนื่องจากอาการขาด
ธาตุอาหารแต่ละธาตุมีลักษณะเฉพาะ จึงสามารถใช้อาการผิดปรกติที่ใบพืช เป็นแนวทางในการประเมิน
ว่าขณะนั้นพืชขาดธาตุใด และสรุปได้ว่าดินมีธาตุนั้นรูปที่เป็นประโยชน์อยู่น้อยเกินไป ส�าหรับค�าอธิบาย
อาการขาดไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม มีอยู่ในบทที่ 7 8 และ 9 ตามล�าดับ เมื่อข้าวมีอาการ
ขาดธาตุอาหารแสดงว่าสภาพการขาดแคลนนั้นรุนแรง และอาจให้ผลผลิตต�่ามาก หรือไม่ให้ผลผลิตเลย
(Tanaka and Yoshida, 1975; Dobermann and Fairhurst, 2000)
428 การจัดการธาตุหลักในนาข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว