Page 435 -
P. 435
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพที่ 15.6 การเก็บตัวอย่างดิน โดยใช้หลอดเก็บตัวอย่างดิน
1.2.2 การวิเคราะห์ดิน
นักวิชาการในห้องปฏิบัติการจะน�าตัวอย่างดินมาวัดสภาพกรดด่างของดินและความเค็ม
ของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ตลอดจนธาตุอื่นๆ
เห็นว่าควรวิเคราะห์ เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนส�าหรับการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
1.2.3 การใช้ประโยชน์จากผลการวิเคราะห์ดินทางเคมี
เมื่อได้ผลการวิเคราะห์ดินมาแล้ว นักวิชาการก็น�ามาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากการวิจัย
ที่แสดงแนวทางการประเมิน หากพบว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง หรือต�่า ก็แนะน�าวิธีบ�ารุงดิน
ต่อไป แนวทางการประเมินมีดังนี้
1) สภาพกรดด่างของดิน (pH, พีเอช) และความต้องการปูน แม้ว่าพืชทั่วไปจะเจริญ
เติบโตได้ดีในดินที่มีช่วงพีเอชอยู่ระหว่าง 5.5 ถึง 7 แต่ถ้าพีเอชของดินมีค่าประมาณ 6.5 น่าจะเหมาะสม
ที่สุด เพราะพีเอชดินใกล้กลาง เป็นระดับที่เหมาะสมที่ธาตุอาหารละลายออกมาอยู่ในสารละลายดินที่พืช
สามารถดูดใช้ได้ ดังนั้นการวัดพีเอช และวิเคราะห์หาความต้องการปูนของดินที่พีเอชต�่ากว่า 5.5 ก็จะ
ช่วยให้การใส่ปูนเหมาะสม และถูกต้องที่สุดส�าหรับแต่ละพื้นที่
ดินนาในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีปฏิกิริยาเป็นกรด แต่เมื่ออยู่ในสภาพน�้าขัง
ปฏิกิริยาของดินจะเข้าใกล้ความเป็นกลางมากขึ้น อาจไม่จ�าเป็นที่ต้องใช้ปูนแก้ไขความเป็นกรดของดินนา
ทั่วไป ส�าหรับในดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัดที่มีพีเอชต�่ากว่า 4.5 ต้องใช้ปูนแก้ไขความเป็นกรดของดินเสียก่อน
มิฉะนั้นจะเกิดผลกระทบต่อการให้ผลผลิตข้าว เนื่องจากดินมีปฏิกิริยาเป็นกรดอย่างรุนแรง ท�าให้เหล็ก
แมงกานีส และอะลูมินัม ละลายออกมามากในดินจนถึงระดับที่เป็นพิษ การเจริญเติบโตของข้าวไม่เป็นไป
ตามปรกติ ชะงักการแตกกอ ต้นแคระแกร็น และกิจกรรมของจุลินทรีย์จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก ท�าให้ไม่
สามารถย่อยสลายอินทรียวัตถุได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการสะสมแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์และสารประกอบ
อินทรีย์ที่อาจเป็นพิษต่อข้าวที่ปลูก ความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสจะอยู่ในระดับต�่าถึงต�่ามาก และ
ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจน ท�าให้รากข้าวไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปรกติ
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การจัดการธาตุหลักในนาข้าว 431