Page 438 -
P. 438
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หรือสูงเกินไป (ตารางที่ 15.9) อย่างไรก็ตาม มีข้อควรสังเกตเกี่ยวกับค่ามาตรฐานดังนี้ คือ 1) ต้องมีค่า
มาตรฐานส�าหรับแต่ละพืช 2) ค่ามาตรฐานดังกล่าวได้มาเมื่อเก็บใบที่มีอายุในเกณฑ์ที่ก�าหนดด้วยวิธีการ
ที่ถูกต้อง เตรียมตัวอย่างด้วยเทคนิคที่เหมาะสม และ 3) วิธีวิเคราะห์ให้ผลเที่ยงตรงและแม่นย�า หากพืช
มีปริมาณธาตุอาหารในใบอยู่ในพิสัยเพียงพอทุกธาตุ ก็เชื่อว่าจะให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการ
ปลูกนั้นสูงสุด
แนวทางการปฏิบัติตามผลการวิเคราะห์ใบพืชท�าดังนี้
1) ผลการวิเคราะห์ของทุกธาตุอยู่ในระดับเพียงพอ แสดงว่าโปรแกรมการใช้ปุ๋ยที่ก�าหนด
ไว้และปฏิบัติอยู่นั้นเหมาะสม จึงควรปฏิบัติต่อไป
2) ผลการวิเคราะห์ของบางธาตุอยู่ในระดับค่อนข้างสูงหรือสูงเกินไป แสดงว่าอัตราปุ๋ย
ตามโปรแกรมการใช้ที่ก�าหนดไว้และปฏิบัติอยู่นั้น มีปริมาณธาตุดังกล่าวสูงเกินไป การใส่ปุ๋ยคราวต่อไป
จึงควรลดอัตราปุ๋ยธาตุนั้นลง 10 และ 20 % ตามล�าดับ
3) ผลการวิเคราะห์ของบางธาตุอยู่ในระดับขาดแคลนหรือค่อนข้างต�่า แสดงว่าอัตราปุ๋ย
ตามโปรแกรมการใช้ปุ๋ยที่ก�าหนดไว้และปฏิบัติมีธาตุนั้นอยู่น้อยเกินไป การใส่ปุ๋ยคราวต่อไป จึงควรเพิ่ม
อัตราปุ๋ยธาตุดังกล่าวขึ้นอีก 20 และ 10 % ตามล�าดับ ขณะเดียวกันก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการฉีดปุ๋ย
ที่ให้ธาตุนั้นทางใบ ประมาณ 3 ครั้ง โดยฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน
ตารางที่ 15.9 ความเข้มข้นของธาตุอาหารในข้าว ที่ถือว่าขาดแคลน
ธาตุอาหาร ขาดแคลน ส่วนของพืชที่น�าไปวิเคราะห์* ระยะการเจริญเติบโตของพืช**
N < 2.5 % ใบ Y แตกแขนง - PI
< 2.0 % ใบธง ออกดอก
P < 0.10 % ใบ Y แตกแขนง - PI
< 0.18 % ใบธง ออกดอก
< 0.06 % ฟาง สุกแก่
K < 1.5 % ใบ Y แตกแขนง - PI
< 1.2 % ใบธง ออกดอก
< 1.2 % ฟาง สุกแก่
Ca < 0.15 % ใบ Y แตกแขนง - PI
< 0.15 % ฟาง สุกแก่
434 การจัดการธาตุหลักในนาข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว