Page 440 -
P. 440
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. การใช้ปุ๋ยเคมีส�าหรับนาข้าว ตามค่าวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ
การผลิตข้าวให้ได้ประสิทธิภาพและยกระดับผลผลิตข้าวของเกษตรกรควรค�านึงถึงการใช้
ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม เช่น การจัดการดิน การจัดการน�้า และการใช้สารป้องกันก�าจัดศัตรูพืช ซึ่งใน
เรื่องของการจัดการดิน กรมการข้าวได้แนะน�าการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร โดยค�านึงถึง
ความเหมาะสมของดินที่ใช้ปลูกข้าวว่ามีความอุดมสมบูรณ์มากน้อยเพียงใดก่อนการใช้ปุ๋ย พบว่าจากการ
ใช้ปุ๋ยตามค�าแนะน�า และปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ร่วมกับการใช้พันธุ์ข้าว วิธีการปลูก การควบคุมดูแล
วัชพืช ที่เหมาะสม โดยเฉลี่ยสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวของประเทศได้สูงสุดประมาณร้อยละ 60 (ส�านักวิจัย
และพัฒนาข้าว, 2556) การใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมนอกจากช่วยยกระดับผลผลิตข้าวของเกษตรกร
แล้วยังช่วยลดต้นทุนการผลิตข้าว
2.1 อัตราปุ๋ย
ส�าหรับรายละเอียดรายการวิเคราะห์ดินและหน่วยของอัตราปุ๋ยธาตุหลัก แสดงในตารางที่ 15.10
ตารางที่ 15.10 ค่าวิเคราะห์ดินที่ต้องวิเคราะห์ ส�าหรับอัตราปุ๋ยในนาข้าว
การวิเคราะห์ดิน อัตราปุ๋ยธาตุอาหารหลัก
OM (organic matter) ในดิน คือ % อินทรียวัตถุ ปุ๋ย N คือ ปุ๋ยไนโตรเจน (กก. N/ไร่)
P ในดิน คือ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (มก./กก.) ปุ๋ย P คือ ปุ๋ยฟอสเฟต (กก. P O /ไร่)
2 5
K ในดิน คือ โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (มก./กก.) ปุ๋ย K คือ ปุ๋ยโพแทช (กก. K O/ไร่)
2
ส�าหรับข้อมูลแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลการวิเคราะห์ดินกับอัตราปุ๋ย N, P และ K ที่แนะน�า
ให้ใช้กับข้าว มีรายละเอียดดังนี้
2.1.1 ข้าวไวต่อช่วงแสง
1) ดินมีอินทรียวัตถุ น้อยกว่า 1, 1-2 และ มากกว่า 2 % ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 9, 6
และ 3 กก.N/ไร่ ตามล�าดับ
2) ดินมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ น้อยกว่า 5, 5-10 และ มากกว่า 10 มก.P/กก. ใช้ปุ๋ย
ฟอสเฟตอัตรา 6, 3 และ 0 กก.P O /ไร่ ตามล�าดับ
2 5
3) ดินมีโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ น้อยกว่า 60, 60-80 และ มากกว่า 80 มก.K/กก.
ใช้ปุ๋ยโพแทชอัตรา 6, 3 และ 0 กก.K O/ไร่ ตามล�าดับ
2
2.1.2 ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
1) ดินมีอินทรียวัตถุ น้อยกว่า 1, 1-2 และ มากกว่า 2 % ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 18, 12
และ 6 กก.N/ไร่ ตามล�าดับ
436 การจัดการธาตุหลักในนาข้าว ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว