Page 423 -
P. 423
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภาพที่ 15.3 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่ได้จากการสกัดฟอสฟอรัสในดินด้วยวิธีของ Mehlich 1
กับผลผลิตข้าวนาน�้าขังในดินอินเซ็บทิซอลของบราซิล
ที่มา: Fageria (2014)
2) เมื่อน�าผลการวิเคราะห์ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ซึ่งสกัดด้วยวิธี Mehlich 1 ของตัวอย่าง
ดินจากแปลงที่ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตอัตราต่างๆ จากการทดลองนี้มาหาความสัมพันธ์กับผลผลิตสัมพัทธ์ของข้าว
(ภาพที่ 15.3) ท�าให้แบ่งช่วงของผลการวิเคราะห์ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 4 ช่วง คือ ต�่ามาก ต�่า
ปานกลาง และสูง (ตารางที่ 15.2) ดังนี้ ผลการวิเคราะห์ดินที่ได้ 0-3.6 มก.P/กก. ถือว่าต�่ามาก, 3.6-6.4
มก.P/กก. ต�่า, 6.4-12.0 มก.P/กก. ปานกลาง และสูงกว่า 12.0 มก.P/กก. ถือว่าสูง ต่อจากนั้นก็ก�าหนด
อัตราปุ๋ยฟอสเฟตที่ควรใส่เพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลผลิตสัมพัทธ์ของเมล็ดมีค่าเท่ากับ 100 % ดังนี้ คือ (1) ดิน
ซึ่งมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต�่ามากและต�่า ใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตรา 10.6 กก.P/ไร่ (2) ดินซึ่งมีฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ปานกลางใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตรา 7.0 กก.P/ไร่ และ (3) ดินซึ่งมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูง
ใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตรา 3.5 กก.P/ไร่
3) ข้าวไร่ในบราซิลซึ่งปลูกในดินอันดับออกซิซอลและอัลทิซอล ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยฟอสเฟต
เมื่อฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ซึ่งสกัดด้วยวิธี Mehlich 1 มีค่าต�่ากว่า 5 มก.P/กก. จึงแนะน�าว่าดิน
ที่มีผลการวิเคราะห์สูงกว่า 3 มก.P/กก.ควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตรา 9.6-12.8 กก.P O /ไร่ และถ้าผลการ
2 5
วิเคราะห์น้อยกว่า 3 มก.P/กก. ควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตรา 16.0-19.2 กก.P O /ไร่
2 5
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว การจัดการธาตุหลักในนาข้าว 419