Page 419 -
P. 419

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            ในการสนองธาตุไนโตรเจน  (N  supplying  capacity)  แก่ข้าว  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแนะน�าการใส่
            ปุ๋ยไนโตรเจนนั้นยังจ�าเป็นต้องพัฒนาต่อไป แต่ผลการวิเคราะห์ดินจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีส�าหรับธาตุซึ่งไม่ค่อย

            เคลื่อนที่ในดิน เช่น ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม
                         ผลการศึกษาความต้องการไนโตรเจน  (nitrogen  requirement)  ของข้าวในนาน�้าขัง
            โดยใช้กราฟการตอบสนองของข้าวต่อการเพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจน  อันเป็นการทดลองในดิน  Inceptisol

            ของประเทศบราซิลซึ่งแสดงว่าผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็นแบบ  quadratic  เมื่อเพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจนในช่วง
            0-32 กก.N/ไร่ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 21.6 กก.N/ไร่ ให้ผลผลิตเมล็ดข้าว 90 % ของผลผลิตสูงสุด

            หรือผลผลิตสัมพัทธ์ (relative yield) 90 % และถือเป็นอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจ (economic
            rate)  แต่ผลการทดลองต่อเนื่อง  3  ปี  ได้อัตราปุ๋ยที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจเพียง  14.4  กก.N/ไร่  ส่วน
            การทดลองโดยสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศในประเทศฟิลิปปินส์ พบว่าปุ๋ยไนโตรเจนช่วยเพิ่มผลผลิต

            เมล็ดข้าวพันธุ์ IR72 และได้ผลผลิตสูงสุดเมื่อใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 24 กก.N/ไร่ อัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เพียงพอ
            ส�าหรับข้าวอายุปานกลาง (medium growth cycle) ของจีน คือ 16-24 กก.N/ไร่ ข้าวพันธุ์ผลผลิตสูง

            ในประเทศบราซิลให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา  18.2-20.2  กก.N/ไร่  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และ
            ชนิดดินที่ใช้ปลูกข้าว การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราที่แนะน�า (recommendation rates) ท�าให้ประสิทธิภาพ
            การใช้ไนโตรเจน  (N  use  efficiency)  สูงและการสูญหายก็ต�่าด้วย  แต่การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเกินความ

            จ�าเป็น คือ สูงกว่าอัตราที่ให้ผลผลิตเชิงเศรษฐกิจสูงสุด (maximum economic yield) ปุ๋ยจะสูญหายไป
            จากดินมาก

                         อย่างไรก็ตาม  การทดลองภาคสนามเพื่อหากราฟการตอบสนองของผลผลิตข้าวต่อการ
            เพิ่มอัตราปุ๋ยไนโตรเจนในทุกชนิดดินที่ใช้ปลูกข้าวย่อมเป็นไปได้ยาก  ดังนั้นจึงมีการศึกษาหาความสัมพันธ์
            ระหว่างผลการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุในดิน (วิเคราะห์โดยวิธี Walkley-Black) กับอัตราปุ๋ย

            ไนโตรเจนที่ควรใส่ในนาข้าวในประเทศไทย  (ดังตารางที่  15.1)  และก�าหนดอัตราปุ๋ยไนโตรเจน  ดังนี้
            (1) ดินที่มีอินทรียวัตถุต�่ากว่า 1 % แนะน�าให้ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 9 และ 18 กก.N/ไร่ ส�าหรับข้าวไว

            ต่อช่วงแสงและข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงตามล�าดับ (2) ดินที่มีอินทรียวัตถุ 1-2 % แนะน�าให้ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน
            อัตรา  6  และ  12  กก.N/ไร่  ส�าหรับข้าวไวต่อช่วงแสงและข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงตามล�าดับ  และ  (3)  ดิน
            ที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่า 2 % แนะน�าให้ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 3 และ 6 กก.N/ไร่ ส�าหรับข้าวไวต่อช่วงแสง

            และข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงตามล�าดับ (กรมวิชาการเกษตร, 2548; ส�านักวิจัยและพัฒนาข้าว, 2553) ในกรณี
            ที่ข้าวแสดงอาการขาดไนโตรเจน อาจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการฉีดพ่นด้วยสารละลายยูเรีย 1 % ก็ได้

                     4.2.3 เวลาการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน
                         เนื่องจากไนโตรเจนสูญหายไปจากดินได้หลายทางดังที่ได้กล่าวแล้ว การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน
            ทั้งหมดเพียงครั้งเดียวท�าให้สูญเสียมาก  แต่การแบ่งปุ๋ยที่ต้องการใช้ทั้งหมดมาใส่หลายครั้งจะลดการสูญเสีย

            ขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนด้วย




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                           การจัดการธาตุหลักในนาข้าว  415
   414   415   416   417   418   419   420   421   422   423   424