Page 274 -
P. 274

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                                                             5

                                    อาการขาดฟอสฟอรัสของข้าว





                   อาการขาดฟอสฟอรัสของข้าว มักพบในช่วงที่ข้าวแตกกอรวดเร็ว และมีอัตราการสะสมน�้าหนัก

          แห้งสูง ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องการฟอสฟอรัสมาก ข้าวที่ขาดฟอสฟอรัสจะมีล�าต้นเตี้ย แคระแกร็นและต้นผอม
          เรียว แตกกอน้อย ใบสั้น แคบและตั้ง สีใบแก่เริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเขียวเข้ม ต่อจากนั้นก็เปลี่ยนเป็น

          สีน�้าตาลปนส้ม (Dobermann and Fairhurst, 2000) ส�าหรับรายละเอียดของอาการผิดปรกติมีดังนี้
                   1) ใบไม่ค่อยเติบโต  การขาดฟอสฟอรัสท�าให้เซลล์ใบขยายขนาดช้า  ใบจึงค่อยไม่เติบโต  แต่การ
          สังเคราะห์คลอโรฟิลล์ยังเกิดขึ้นได้  ตราบเท่าที่ยังมีไนโตรเจนและแมกนีเซียมเพียงพอ  เพราะฟอสฟอรัส

          มิได้เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์  ในช่วงแรกของการขาดธาตุนี้  ความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ต่อ
          หน่วยพื้นที่ใบจึงสูงขึ้น ท�าให้ใบมีสีเขียวเข้มอยู่ช่วงหนึ่ง แต่อัตราการสังเคราะห์แสงต่อหน่วยน�้าหนักของ
          คลอโรฟิลล์ต�่าลง เมื่อการขาดฟอสฟอรัสรุนแรงมากขึ้น ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน�้าตาลปนส้ม เริ่มจากปลาย

          ใบไปหาโคนใบ อาการขาดฟอสฟอรัสของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด มักพบว่าใบแก่มีสีเขียว
          เข้มขึ้นในช่วงแรก  ต่อมามีสีม่วงอันเป็นสีของแอนโทไซยานินแซมขึ้นมา  แต่อาการขาดฟอสฟอรัสในข้าว
          มักไม่พบสีม่วงที่ใบแก่อย่างชัดเจนเหมือนในกรณีของข้าวโพด

                   2) ผลกระทบอื่นๆ ข้าวที่ขาดฟอสฟอรัสจะมีปัญหา 3 ประการ คือ (1) ไม่ตอบสนองต่อการ
          ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและปุ๋ยโพแทสเซียม (2) ไม่แข็งแรงและไวต่อโรค เช่น โรคจุดสีน�้าตาล (brown spot)

          จากเชื้อ  Bipolaris  oryzae  และ  (3)  หากอยู่ได้จนถึงเก็บเกี่ยว  ข้าวจะสุกแก่ช้ากว่าปรกติ  10-12  วัน
          การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอย่างเหมาะสมแก่ข้าวในดินซึ่งมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต�่า  จึงส่งเสริมการเติบโตของ
          ราก ช่วยเพิ่มการแตกกอ จ�านวนรวงและผลผลิตเมล็ดข้าว
                                                                                             6


                                                                         ความเข้มข้น

                       และการดูดสะสมของฟอสฟอรัสในข้าว





             ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในเนื้อเยื่อ  (ปริมาณฟอสฟอรัสต่อหน่วยน�้าหนักแห้ง)  เป็นข้อมูล

          ที่แสดงว่าข้าวในแต่ละระยะการเติบโต  มีฟอสฟอรัสเพียงพอต่อการเติบโตหรือไม่  ส่วนการดูดสะสม
          (ความเข้มข้นของฟอสฟอรัส  x  ผลผลิตน�้าหนักแห้ง)  ใช้ประเมินปริมาณฟอสฟอรัสที่ข้าวดึงออกไปจาก

          ดิน  ซึ่งหากสามารถใส่ปุ๋ยชดเชยให้ข้าวได้รับ  เท่ากับส่วนที่ติดไปกับผลผลิตและการสูญหายในด้านอื่นๆ
          จะช่วยรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของฟอสฟอรัสในดินไว้ได้ต่อไป



          270 ฟอสฟอรัสของข้าว                                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279