Page 273 -
P. 273

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            เยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ต่างๆ อันเป็นหน่วยย่อยภายในเซลล์ซึ่งแต่ละออร์แกเนลล์ก็ท�าหน้าที่
            ส�าคัญทั้งสิ้น

                       กรดนิวคลีอิกมีสองอย่างคือ  DNA  (deoxyribonucleic  acid)  ซึ่งเป็นเหมือนแกนของ
            ชีวิตอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์  เพราะบรรจุข้อมูลด้านพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้อย่างสมบูรณ์  กับ  RNA
            (ribonucleic acid) ซึ่ง DNA สร้างขึ้นส�าหรับให้ไปท�าหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ เพื่อใช้ควบคุม

            การท�างานของเซลล์
                       ในการแบ่งเซลล์หนึ่งเป็นสองเซลล์ พืชต้องสร้างนิวเคลียสที่มี DNA เหมือนเดิมให้กับเซลล์

            ใหม่  ขณะเดียวกันก็มีการสร้าง  RNA  ในเซลล์ใหม่และเซลล์ที่ก�าลังขยายตัว  การเจริญเติบโตของพืชจึง
            ต้องการฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอ
                       ส่วนฟอสโฟลิพิด  เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์  และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์

            ซึ่งท�าหน้าที่ส�าคัญภายในเซลล์  เช่น  (1)  เยื่อหุ้มเซลล์มีบทบาทด้านควบคุมการผ่านของธาตุอาหาร
            ตลอดจนสารต่างๆ เข้าในเซลล์หรือออกจากเซลล์ (2) เยื่อหุ้มคลอโรพลาสต์ ท�าหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย

            อิเล็กตรอน เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงมาเป็นพลังงานทางเคมีในกระบวนการสังเคราะห์แสง และ (3) เยื่อหุ้ม
            ไมโทคอนเดรีย  ท�าหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน  เพื่อเปลี่ยนพลังงานจากสารอินทรีย์ต่างๆ  ให้มา
            อยู่ในรูป ATP (adenosine triphosphate) อันเป็นแหล่งพลังงานส�าหรับกระบวนการต่างๆ ในเซลล์

                     2) สารที่ใช้ประกอบกับเอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยา ได้แก่โคเอนไซม์ (coenzyme) หลายชนิด
            ซึ่งจ�าเป็นส�าหรับการท�างานของเอนไซม์ต่างๆ เช่น NADPH ซึ่งใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง

                     3) สารพลังงานสูง  ส�าหรับ  ATP  เป็นสารที่มีพลังงานสูง  ซึ่งเมื่อถูกเอนไซม์ย่อยจะแตกตัวให้
            ADP  (adenosine  diphosphate)  กับฟอสเฟตไอออน  แล้วปลดปล่อยพลังงานออกมาใช้ในปฏิกิริยา
            ชีวเคมีภายในเซลล์ ส่วน ADP กับฟอสเฟตไอออน ก็ไปรับพลังงานและสร้างเป็น ATP ขึ้นมาใหม่


                                                                                               4


                                       บทบาทของฟอสฟอรัสต่อข้าว






                     การใส่ปุ๋ยฟอสเฟตในดินนาที่ขาดฟอสฟอรัส ช่วยเพิ่มการเติบโตของข้าวทั้งรากและส่วนเหนือ
            ดินดังนี้ (Fageria, 2014)
                     (1) เพิ่มการแตกรากแขนง  จึงมีจ�านวนรากมากขึ้น  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดน�้าและ

            ธาตุอาหาร
                     (2) เพิ่มดัชนีพื้นที่ใบ (leaf area index, LAI) จึงรับพลังแสงเพื่อการสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น

                     (3) เพิ่มจ�านวนแขนงและจ�านวนรวงต่อกอ ผลผลิตเมล็ดจึงสูงขึ้น



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                                 ฟอสฟอรัสของข้าว  269
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278