Page 275 -
P. 275

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                 6.1 ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในข้าว
                     6.1.1 ผลของอายุและอวัยวะของต้นข้าว

                         ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสผันแปรไปตามอายุของข้าวและอวัยวะของข้าวที่น�ามา
            วิเคราะห์  ทั้งนี้เนื่องจากฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายในพืชได้ง่าย  ดังนั้นความเข้มข้นในใบหนึ่งๆ  จึง
            ลดลงเมื่อใบนั้นมีอายุมากขึ้น กล่าวคือใบอ่อนมีความเข้มข้นของฟอสฟอรัสสูงสุด และต�่าสุดในใบแก่ที่สุด

            โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เมื่อดินมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ค่อนข้างจ�ากัด  ส�าหรับข้าวที่ปลูกในสภาพที่ดินมี
            ฟอสฟอรัสเพียงพอนั้น  ส่วนเหนือดินของข้าวไร่อายุ  30,  40,  60,  80  และ  100  วัน  มีความเข้มข้น

            ของฟอสฟอรัส  2.8,  1.8,  1.5,  1.0  และ  0.8  กรัม  P  ต่อกิโลกรัม  ตามล�าดับ  ดังนั้นการเก็บตัวอย่าง
            ส่วนเหนือดินของข้าวมาวิเคราะห์จึงต้องบันทึกอายุและระยะการเติบโตด้วย
                         สาเหตุที่ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในข้าวลดลงเมื่ออายุมากขึ้น  เนื่องจากน�้าหนักแห้ง

            มากขึ้น  แต่อัตราการเพิ่มของการสะสมธาตุต�่ากว่าอัตราการสะสมน�้าหนักแห้ง  จึงท�าให้เกิดผลด้านความ
            เจือจางของธาตุ (dilution effect) เช่นเดียวกับกรณีของไนโตรเจน

                     6.1.2 ระดับที่เพียงพอ
                         ระดับที่เพียงพอและระดับวิกฤติขาดแคลนของฟอสฟอรัสส�าหรับข้าว  ใน  3  ระยะการ
            เจริญเติบโต คือ ระยะแตกกอ-IPP, ระยะออกดอกและระยะสุกแก่แสดงไว้ในตารางที่ 9.1



            ตารางที่ 9.1  ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในข้าวที่ถือว่าเพียงพอ และเป็นระดับวิกฤติ


                ระยะการเติบโต          ส่วนของข้าว          เพียงพอ (%)         ระดับวิกฤติ (%)

                ระยะแตกกอ-IPP           แผ่นใบ Y             0.20-0.40               0.10
                 ระยะออกดอก               ใบธง               0.20-0.30               0.18

                     สุกแก่              ฟางข้าว                0.6                    -

             ที่มา: Reuter et al. (1997); Fageria et al. (2003)



                         Fageria et al. (2003) ประมวลจากรายงานเรื่องระดับวิกฤติและระดับที่เพียงพอของ

            ฟอสฟอรัสในข้าวจากหลายแหล่ง  พบว่ามีความแตกต่างกันตามระยะการเจริญเติบโตและเนื้อเยื่อดัชนีที่
            ใช้วิเคราะห์ เช่น ในระยะเติบโตไม่อาศัยเพศ ระดับวิกฤติในใบ Y ควรมีพิสัยของฟอสฟอรัส 0.1-0.2 %
            หากต้องการให้มีอัตราการแตกกอสูงสุดใบ Y ควรมีฟอสฟอรัส 0.2 % ถ้ามีค่าต�่ากว่า 0.03 % ข้าวจะไม่

            แตกกอ ส่วนระดับที่เพียงพอจากการวิเคราะห์เมื่อข้าวอายุ 75 วันคือ 0.25-0.45 % ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงนั้น
            ระยะการเติบโตไม่อาศัยเพศควรมีฟอสฟอรัสในใบ  Y  หรือในส่วนเหนือดินสูงกว่า  0.2  %  การประเมิน

            ความเข้มของฟอสฟอรัสในระยะเจริญพันธุ์จนถึงระยะสุกแก่  แสดงว่าข้าวที่ให้ผลผลิตสูงมีฟอสฟอรัสใน



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                                 ฟอสฟอรัสของข้าว  271
   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280