Page 271 -
P. 271

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                         การยึดฟอสเฟตไอออนอย่างแข็งแรงหรือการตรึงฟอสเฟต  เป็นปฏิกิริยาที่เกิดอย่าง
            ต่อเนื่องของทั้งการตกตะกอนและการดูดซับ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้คือ เมื่อความเข้มข้นของฟอสเฟตไอออน

            ในสารละลายดินต�่า ปฏิกิริยาส่วนใหญ่จะเป็นการดูดซับ แต่การตกตะกอนจะเกิดขึ้นเมื่อความเข้มข้นของ
            ฟอสเฟตไอออนในสารละลายดินสูงถึงระดับหนึ่ง  ดังนั้นภายหลังการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน�้าง่ายลงไป
            ในดิน  ความเข้มข้นของฟอสเฟตไอออนในสารละลายดินจะเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว  (ระดับความเข้มข้น

            ที่เพิ่มนั้น  ขึ้นอยู่กับอัตราปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่และวิธีการใส่)  จึงเกิดปฏิกิริยาการดูดซับและตกตะกอนทันที
            โดยลักษณะของปฏิกิริยาเป็นดังนี้

                         1) การตกตะกอนของฟอสเฟต  เกิดเมื่อความเข้มข้นของฟอสเฟตไอออนในสารละลาย
            ดินสูงกว่าสภาพละลายได้ (solubility) ของแร่ฟอสเฟตที่เป็นผลของการตกตะกอน และ
                         2) การดูดซับฟอสเฟต เกิดเมื่อยังมีพื้นผิวบนอนุภาคแร่เหลืออยู่ หรือยังดูดซับฟอสเฟต

            ไม่เต็มที่
                         ไม่ว่าการตรึงฟอสเฟตในดินจะเกิดโดยการดูดซับหรือการตกตะกอน แต่ให้ผลเหมือนกัน
            คือลดความเข้มข้นของฟอสเฟตไอออนในสารละลายดิน พืชจึงใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในดินได้น้อยลง

                     2.4.3 อิทธิพลของการขังน�้า
                         การขังน�้าท�าให้ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินสูงขึ้น ซึ่งเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ
                         1) ส่วนใหญ่เนื่องจากการแปรสภาพของเฟอริกฟอสเฟต  (รูปออกซิไดส์)  เป็นเฟอรัส

            ฟอสเฟต (รูปรีดิวซ์) และแมงกานิกฟอสเฟต (รูปออกซิไดส์)  เป็นแมงกานัสฟอสเฟต (รูปรีดิวซ์) ซึ่งเป็น
            สารประกอบที่ละลายน�้าได้ง่ายขึ้น

                         2) สาเหตุอื่นๆ ซึ่งมี 4 ประการได้แก่
                           (1) การละลายได้เพิ่มขึ้นของสารประกอบฟอสเฟตบางอย่างที่ละลายยาก
                           (2) ในดินกรดมีการปลดปล่อยฟอสเฟตจากสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตมากขึ้น

            เนื่องจากพีเอชของดินหลังการขังน�้าสูงขึ้น ท�าให้กิจกรรมการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์มีมากขึ้น
                           (3) ในดินเนื้อปูนมีการละลายของสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟตมากขึ้น และ

                           (4) การขังน�้าช่วยให้การแพร่ของฟอสเฟตไอออนในดินมีมากขึ้น
                         ดังนั้นเมื่อมีการขังน�้าเพื่อเตรียมดินส�าหรับปลูกข้าว การเปลี่ยนแปลงทางเคมีจึงส่งเสริม
            ให้ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสภาพก่อนการขังน�้า

                 2.5 การรักษาระดับฟอสเฟตไอออนในสารละลายดิน
                     เนื่องจากฟอสเฟตไอออนในสารละลายดิน คือส่วนที่รากพืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย เป็นส่วนของ
            “ความเข้ม (intensity)” ซึ่งหากรักษาไว้ในระดับที่เหมาะสมอย่างสม�่าเสมอ พืชก็จะไม่ขาดแคลนฟอสฟอรัส

            อย่างไรก็ตาม การรักษา “ระดับความเข้ม” ขึ้นอยู่กับความสามารถของ “ส่วนปริมาณ (quantity)” อันได้แก่
            ฟอสฟอรัสที่เปลี่ยนรูปง่าย (labile P) ซึ่งหมายถึงสารประกอบฟอสเฟตที่ไม่มีเสถียรภาพและเปลี่ยนแปลง
            เสมอ (unstable) ประกอบด้วย



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                                 ฟอสฟอรัสของข้าว  267
   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276