Page 272 -
P. 272

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                   1) ฟอสเฟตที่ดูดซับ  (adsorbed  P)  ที่สามารถคลายการดูดซับ  (desorption)  ง่าย  แล้ว
          ปลดปล่อยฟอสเฟตไอออนออกมาชดเชยส่วนที่รากพืชดูดไปใช้ได้ทันท่วงที และ

                   2) ฟอสเฟตอินทรีย์บางส่วนที่สลายตัวและปลดปล่อยฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ได้ง่าย
                   อัตราส่วนระหว่าง  “ปัจจัยด้านปริมาณ  (quantity  factor)”  กับ  “ปัจจัยระดับความเข้ม
          (intensity  factor)”  เป็นตัวก�าหนดค่าความจุบัฟเฟอร์  (buffer  capacity,  BC)  ของฟอสฟอรัสในดิน

          หรือความสามารถของดิน  ในการรักษาระดับความเข้มข้นของฟอสเฟตไอออนในสารละลายดิน  หากค่า
          ความจุบัฟเฟอร์ของฟอสฟอรัสในดินสูงขึ้น  ความสามารถในการชดเชยฟอสเฟตไอออนในสารละลายดิน

          ก็สูงขึ้นด้วย
                   ส�าหรับฟอสฟอรัสที่เปลี่ยนรูปง่ายท�าหน้าที่เป็น  “ส่วนปริมาณ  (quantity)”  ซึ่งก�าหนดความ
          จุบัฟเฟอร์  (buffer  capacity,  BC)  ของฟอสฟอรัสในดินโดยตรง  แต่เมื่อส่วนนี้ร่อยหรอลง  ปรากฏว่า

          สารประกอบฟอสเฟตมีเสถียรภาพหรือเปลี่ยนแปลงยาก  ได้แก่  แร่ปฐมภูมิ  แร่ทุติยภูมิ  และฟอสเฟต
          อินทรีย์บางส่วน  เข้ามาท�าหน้าที่เสริมทดแทนฟอสฟอรัสที่เปลี่ยนรูปง่าย  แต่อัตราการปลดปล่อยฟอสเฟต

          ไอออนสู่สารละลายดินช้ากว่า
                   เนื่องจาก “ส่วนปริมาณ (quantity)” ของฟอสฟอรัสในดินประกอบด้วยฟอสฟอรัสที่เปลี่ยนรูป
          ง่ายและฟอสฟอรัสที่เปลี่ยนรูปยากบางส่วน  ดังนั้นความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบดิน

          ที่เกี่ยวข้องกับสองส่วนนี้  จึงเป็นพื้นฐานส�าคัญที่ช่วยให้การจัดการฟอสฟอรัสในดินเป็นไปอย่างถูกต้อง
          และพืชได้รับฟอสฟอรัสรูปที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอตลอดช่วงการเจริญเติบโต


                                                                                             3

                       ภาพรวมบทบาทของฟอสฟอรัสในพืช






             ฟอสเฟตไอออนที่เซลล์พืชดูดได้  ส่วนใหญ่ถูกน�าไปสังเคราะห์สารอินทรีย์ต่างๆ  ส่วนน้อยจะ

          สะสมไว้ในแวคิวโอล  (vacuole  ท�าหน้าที่เก็บสารต่างๆ  ในเซลล์)  เพื่อส�ารองไว้ใช้ยามขาดแคลน  การ
          ท�าหน้าที่ของฟอสฟอรัสในพืชมีเอกลักษณ์ส�าคัญ  คือ  พืชดูดฟอสฟอรัสในรูปฟอสเฟตไอออน  เมื่อเข้าไป

          ในเซลล์แล้วก็คงอยู่ในรูปของฟอสเฟตต่อไป แม้จะเป็นองค์ประกอบในโครงสร้างของสารอินทรีย์ใดๆ ก็ยัง
          อยู่ในรูปของฟอสเฟตเสมอ  เมื่อสารนั้นสลายก็หลุดออกมาในรูปฟอสเฟตเหมือนเดิม  ส�าหรับสารอินทรีย์
          ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ สารที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ สารที่ใช้ประกอบ

          กับเอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยา และสารพลังงานสูง (ยงยุทธ, 2558) ซึ่งสรุปได้ดังนี้
                   1) สารที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ ได้แก่ (1) กรดนิวคลีอิก (nucleic acids) ในนิวเคลียส และ

          ออร์แกเนลล์  (organelle)  บางชนิด  และ  (2)  ฟอสโฟลิปิด  (phospholipids)  ซึ่งอยู่ในโครงสร้างของ



          268 ฟอสฟอรัสของข้าว                                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   267   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277