Page 269 -
P. 269
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.3 การเปลี่ยนแปลงของฟอสฟอรัสในดิน
การเปลี่ยนแปลงของฟอสฟอรัสในดินมี 4 กระบวนการ คือ อิมโมบิไลเซชัน การผุพังอยู่กับที่
การดูดซับและการตกตะกอน
2.3.1 อิมโมบิไลเซชัน
อิมโมบิไลเซชัน (immobilzation) คือ กระบวนการที่จุลินทรีย์ดึงเอาฟอสเฟตไอออนไป
ใช้ประโยชน์ แล้วอยู่ในสารประกอบอินทรีย์ภายในเซลล์ของจุลินทรีย์ จึงไม่เป็นประโยชน์กับพืชอีกต่อไป
เมื่อจุลินทรีย์ตาย สารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟตก็ย่อยสลายแล้วปลดปล่อยฟอสเฟตไอออน (สารอนินทรีย์)
ออกมาอีกครั้งหนึ่ง การแปรสภาพของธาตุในรูปสารอินทรีย์มาเป็นสารอนินทรีย์ เรียกว่ากระบวนการ
มินเนอราลไลเซชัน (mineralization) การใส่ซากพืชที่มีสัดส่วนระหว่างคาร์บอนและฟอสฟอรัส (C:P
ratio) แตกต่างกัน มีผลกระทบต่อกระบวนการทั้งสองด้วย กล่าวคือ การใส่ซากพืชที่มี C:P ratio
กว้างกว่า 112:1 ส่งเสริมกระบวนการอิมโมบิไลเซชัน แต่การใส่ซากพืชที่มี C:P ratio แคบกว่า 100:1
ส่งเสริมกระบวนการมินเนอราลไลเซชัน
2.3.2 การผุพังอยู่กับที่
การผุพังอยู่กับที่ (weathering) ของแร่ในดิน ได้แก่ แร่อะพาไทต์ (apatite) ซึ่งมี
แคลเซียมและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ แร่นี้จะมีการสลายตัวอย่างช้าๆ และปลดปล่อยฟอสฟอรัส
ในรูปฟอสเฟตไอออนออกมาสู่สารละลายดิน
2.3.3 การดูดซับและการตกตะกอน
การดูดซับ (adsorption) และการตกตะกอน (precipitation) เป็นปฏิกิริยาของฟอสเฟต
ไอออนกับองค์ประกอบของดิน ท�าให้ฟอสเฟตไอออนซึ่งเป็นประโยชน์ กลายเป็นรูปที่ไม่เป็นประโยชน์
ต่อพืช เรียกว่าการตรึงฟอสฟอรัส (P fixation) หรือการยึดฟอสฟอรัส (P retention) การดูดซับและ
การตกตะกอนขึ้นอยู่กับพีเอชของดิน ดังนี้
Fe Fe
O OH O OH
Fe Fe O
-
O O + H PO 4 - O O P O + OH -
-
2
Fe Fe OH
O O H O H O
Fe Fe
ภาพที่ 9.2 การตรึงฟอสฟอรัสโดยฟอสเฟตไอออนท�าปฏิกิริยากับเหล็กออกไซด์
ที่มา: https://dl.sciencesocieties.org/publications/books/abstracts/
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ฟอสฟอรัสของข้าว 265