Page 270 -
P. 270

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       1) ในดินกรด ฟอสเฟตไอออนท�าปฏิกิริยากับเหล็กและอะลูมินัมกลายเป็นสารประกอบ
          เหล็กฟอสเฟตและอะลูมินัมฟอสเฟต  แล้วตกตะกอนเป็นแร่ทุติยภูมิ  หรือฟอสเฟตไอออนดูดซับที่ผิวของ

          อนุภาคเหล็กออกไซด์ (ภาพที่ 9.2) อะลูมินัมออกไซด์และแร่ดินเหนียว
                       2) ในดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกลาง เป็นด่าง หรือในดินเนื้อปูน (ดินแคลคาเรียส) ฟอสเฟต
          ไอออนตกตะกอนกลายเป็นแร่ทุติยภูมิ  คือแคลเซียมฟอสเฟต  และแมกนีเซียมฟอสเฟต  หรือฟอสเฟต

          ไอออนดูดซับที่ผิวแร่ดินเหนียวและแร่แคลไซต์
               2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างฟอสฟอรัสรูปต่างๆ ในดินนา

                   ความสัมพันธ์ระหว่างฟอสฟอรัสรูปต่างๆ ในดินนาเป็นดังนี้
                   2.4.1 การปลดปล่อยฟอสเฟตไอออน

                       เมื่อความเข้มข้นของฟอสเฟตไอออนในสารละลายดินลดลง  เนื่องจากพืชดูดไปใช้หรือ
          ถูกชะละลายไป ฟอสเฟตไอออนส่วนที่ลดลงไปนี้จะถูกชดเชยโดยการปลดปล่อยออกมาจากฟอสเฟตส่วน

          ที่เปลี่ยนรูปง่าย ซึ่งเป็นของแข็งประเภทสารอนินทรีย์ฟอสเฟตและสารอินทรีย์ฟอสเฟต ดังนี้
                       1) แร่ปฐมภูมิและแร่ทุติยภูมิละลายอย่างช้าๆ  ท�าให้  H PO   และ  HPO   ออกมายัง
                                                                                     2-
                                                                          -
                                                                      2  4           4
          สารละลายดิน ส�าหรับสารประกอบเหล็กฟอสเฟตและแมงกานีสฟอสเฟตในดินนาน�้าขัง อันมีสภาพรีดักชัน
          เหล็กและแมงกานีสอยู่ในรูปรีดิวซ์ จึงเป็นเฟอรัสฟอสเฟตและแมงกานัสฟอสเฟต ซึ่งสภาพละลายได้สูงกว่า
          เหล็กรูปออกซิไดส์ คือ เฟอริกฟอสเฟตและแมงกานิกฟอสเฟต อันเป็นรูปที่พบในดินไร่ ดังนั้นในดินนาน�้าขัง

          เฟอรัสฟอสเฟตและแมงกานัสฟอสเฟต จึงละลายและปลดปล่อยฟอสเฟตไอออนออกมาได้ง่าย
                       2) ฟอสเฟตไอออนที่ถูกดูดซับ  (adsorbed  P)  บริเวณผิวของแร่ดินเหนียว  อาจคลาย
          การดูดซับออกมา (desorbs) ยังสารละลายดิน กลไกหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ คือ การแทนที่ด้วยแอนไอออนของ

          กรดอินทรีย์
                       3) จุลินทรีย์ดินย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ฟอสฟอรัสแล้วปลดปล่อยฟอสเฟตไอออน

                   2.4.2 การยึดฟอสเฟตไอออน
                       การยึดฟอสเฟตไอออน  (P  retention)  หรือการตรึงฟอสเฟต  (P  fixation)  เกิดเมื่อ

          สารละลายดินมีฟอสเฟตไอออนเพิ่มขึ้น เช่น การใส่ปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายง่ายลงไปในดิน ท�าให้ความเข้มข้น
          ของฟอสเฟตไอออนในสารละลายดินสูงขึ้น ส่วนหนึ่งรากพืชดูดไปใช้ประโยชน์ ที่เหลือจะมีการเปลี่ยนแปลง
          ดังนี้

                       1) ฟอสเฟตไอออนถูกดูดซับอย่างแข็งแรง  ที่ผิวของแร่ดินเหนียวและแร่ทุติยภูมิ  จึงไม่
          เป็นประโยชน์ต่อพืช

                       2) ฟอสเฟตไอออนตกตะกอนกลายเป็นแร่ทุติยภูมิ
                       3) ฟอสเฟตไอออนถูกจุลินทรีย์ดินดูดไปใช้และกลายเป็นสารอินทรีย์อันเป็นองค์ประกอบ

          ของเซลล์จุลินทรีย์ดิน



          266 ฟอสฟอรัสของข้าว                                        ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275