Page 277 -
P. 277
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
0.42, 0.43 และ 0.53 และดัชนีการเก็บเกี่ยวฟอสฟอรัส 0.77, 0.79 และ 0.89 ตามล�าดับ แสดงว่า
ถั่วเหลืองมีความต้องการฟอสฟอรัสในส่วนเหนือดินเพื่อสร้างเมล็ด ในสัดส่วนที่สูงกว่าข้าวไร่และข้าวโพด
นอกจากนี้ปริมาณฟอสฟอรัสที่ติดไปกับผลผลิตเมล็ดยังสูงกว่าที่เหลือในซังหรือซากพืชซึ่งค้างในไร่อีกด้วย
ตารางที่ 9.2 อิทธิพลของปุ๋ยฟอสเฟตต่อการดูดสะสมฟอสฟอรัส (P uptake - กิโลกรัม P/ไร่) ในซังและ
เมล็ดข้าว
อัตราปุ๋ย อายุของต้นข้าว (วัน) นับจากวันที่เมล็ดข้าวงอก a
(กก.P O /ไร่) 18 35 63 81 91 119 เมล็ด รวม
2 5
0 0.03 0.10 0.74 1.58 2.04 0.72 2.62 3.34
13.9 0.05 0.18 1.02 2.20 2.64 0.73 3.04 3.37
28.0 0.07 0.27 1.18 2.16 2.86 1.04 3.21 4.25
41.9 0.08 0.34 1.25 2.44 3.58 1.39 4.01 5.04
56.0 0.10 0.37 1.28 2.30 2.94 1.02 4.00 5.02
69.9 0.10 0.27 1.12 2.08 3.04 1.20 3.69 4.89
เฉลี่ย 0.07 0.24 1.09 2.12 2.86 1.00 3.42 4.42
R 2 0.99** 0.91** 0.95** 0.88** 0.83** 0.67* 0.90**
a ระยะการเติบโตของข้าว: ต้นข้าวเริ่มแตกหน่อ (18 วัน), แตกหน่อรวดเร็ว (35 วัน), ก่อก�าเนิดช่อดอกอ่อน
(63 วัน), ตั้งท้อง (81 วัน), ออกดอก (91 วัน) และสุกแก่ (119 วัน) * มีนัยส�าคัญ **มีนัยส�าคัญยิ่งทางสถิติ
ที่มา: Fageria (2014)
8
ประสิทธิภาพการใช้ฟอสฟอรัส
ประสิทธิภาพการใช้ฟอสฟอรัส (P use efficiency) เป็นข้อมูลที่แสดงว่าปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่ลงไป
ในดินนั้น ข้าวน�าไปใช้ในการสร้างน�้าหนักแห้งและผลผลิตเมล็ดมากน้อยเพียงใด ประโยชน์ของข้อมูล คือ
แนวทางการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตที่เหมาะสม เพื่อให้ข้าวใช้ประโยชน์จากปุ๋ยมากขึ้น แต่ลดค่าใช้จ่ายด้านปุ๋ยและ
ลดการสูญเสียปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ในดิน (Fageria, 2014)
ประสิทธิภาพการใช้ฟอสฟอรัส 5 รายการของข้าว 18 พันธุ์จากการทดลองในกระถาง มีค่าเฉลี่ย
ดังนี้
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ฟอสฟอรัสของข้าว 273