Page 236 -
P. 236

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






          ให้ไอออนหรือโมเลกุลนั้น  เคลื่อนย้ายผ่านช่องในโครงสร้างโปรตีน  (ค)  ปลดปล่อยไอออนหรือโมเลกุล
          ไว้ภายในเซลล์  และ  (ง)  พาหะปรับสภาพโครงสร้างให้มีความพร้อมส�าหรับรับไอออนหรือโมเลกุลจาก

          ภายนอกเข้ามาอีก
                          การดูดธาตุอาหารด้วยโปรตีนพาหะมีประโยชน์มาก  เพราะ  (ก)  โปรตีนพาหะ
          แต่ละชนิดมีความจ�าเพาะเจาะจงสูงต่อชนิดของธาตุอาหารที่ต้องการดูด  และ  (ข)  มีประสิทธิภาพสูงใน

          การดูดธาตุอาหารจากสารละลายดิน  ซึ่งมีความเข้มข้นของธาตุอาหารนั้นต�่า  อันเป็นภาวะปรกติของดิน
          ทั่วไป  ท�าให้พืชยังคงดูดธาตุอาหารที่ต้องการมาใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง  แต่อัตราการดูดต�่ากว่าการ

          ใช้โปรตีนช่องผ่านมาก
                      3) ตัวสูบ (pumps)
                        ตัวสูบท�าหน้าที่ขับเคลื่อนไอออนชนิดหนึ่ง โดยใช้พลังงานจาก ATP ในการขับเคลื่อน

          ไอออนนั้นผ่านเยื่อในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง จึงแบ่งประเภทตามชนิดของไอออน เช่น
                     (1) ตัวสูบแคลเซียม ใช้ควบคุมความเข้มข้นของแคลเซียมในส่วนต่างๆ ของเซลล์ให้
          อยู่ในระดับพอเหมาะ เช่น ขับแคลเซียมบางส่วนจากไซโทพลาซึมไปไว้ที่แวคิวโอล ร่างแหเอนโดพลาสต์

          หรือผนังเซลล์
                        (2) ตัวสูบโซเดียม ใช้ขับโซเดียมออกจากเซลล์ เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์เป็นพิษจาก
          โซเดียม

                        (3) ตัวสูบโปรตอน ท�าหน้าที่สูบโปรตอนเพื่อสร้างระดับศักย์เคมีไฟฟ้าระหว่างสองด้าน
          ของเยื่อให้เหมาะแก่การท�างานของพาหะ ตัวสูบโปรตอนใช้ ATP เป็นแหล่งพลังงาน (โปรตอน คือ อนุภาค

          ในนิวเคลียสของอะตอมที่มีประจุบวก  อะตอมของไฮโดรเจนประกอบด้วยหนึ่งโปรตอนกับหนึ่งอิเล็กตรอน
          เมื่ออะตอมของไฮโดรเจนสูญเสียอิเล็กตรอนก็เหลือเฉพาะโปรตอน จึงเขียนสัญลักษณ์ของโปรตอนว่า H +
          หรือไฮโดรเจนไอออน)

                          บทบาทของตัวสูบโปรตอนต่อกลไกการดูดธาตุอาหารของเซลล์พืช  มีดังนี้
                          (1) ตัวสูบโปรตอน  ท�าหน้าที่ขับโปรตอนจากเซลล์ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกมายัง

          ผนังเซลล์ โดยใช้พลังงานจาก ATP ซึ่งเกิดผล 2 ประการ คือ การสร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่าง
          สองด้านของเยื่อ จากการเพิ่มความเข้มข้นของโปรตอนนอกเซลล์ แต่เพิ่มประจุลบภายในเซลล์
                          (2) ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างสองด้านของเยื่อนี้  เป็นสภาพที่มีระดับพลังงาน

          เหมาะสมในการขับเคลื่อนให้ไอออนของธาตุอาหารที่อยู่นอกเซลล์ เคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์
          ด้วยโปรตีนช่องผ่าน หรือโปรตีนพาหะ
                  5.3.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูดธาตุอาหารของรากพืชจากดิน

                      รากพืชที่เจริญเติบโตในไร่นาดูดธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์จากดิน มีปัจจัย 3 ประการ
          ที่มีอิทธิพลต่อการดูดธาตุอาหารของรากพืชจากดิน  คือ  ภูมิอากาศ  ดิน  และพืช  (Osman,  2013;
          Podar, 2013)



          232 หลักการธาตุอาหารพืช                                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241