Page 234 -
P. 234
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ATP
ภาพที่ 7.4 การดูดไอออนที่เยื่อหุ้มเซลล์ โดยใช้โปรตีนช่องผ่านและโปรตีนพาหะ
ที่มา: ปรับปรุงจาก Epstein and Bloom (2005)
5.3.1 โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์
เยื่อที่ล้อมรอบโพรโทพลาซึมและอยู่ถัดจากผนังเซลล์ลงไป เรียกว่าเยื่อหุ้มเซลล์ ในหนึ่ง
หน่วยเยื่อ” ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) สารฟอสโฟลิปิดสองชั้นประกบกัน และ 2) โปรตีนซึ่งมีอยู่
หลายแบบ ที่ส�าคัญคือโปรตีนซึ่งท�าหน้าที่ดูดน�้าและไอออน ซึ่งเรียกว่าโปรตีนขนส่ง (transport protein)
ดังภาพที่ 7.4
5.3.2 การท�าหน้าที่ของโปรตีนขนส่งที่เยื่อหุ้มเซลล์
ส�าหรับโปรตีนขนส่งซึ่งเป็นช่องทางและควบคุมการผ่านของไอออนมี 3 แบบ คือ 1) ช่อง
ผ่าน 2) พาหะ และ 3) ตัวสูบ โปรตีนขนส่งแต่ละแบบท�าหน้าที่ดังนี้
1) โปรตีนช่องผ่าน
เยื่อหุ้มเซลล์มีโปรตีนช่องผ่านหลายประเภท เพื่อให้สามารถท�าหน้าที่ดูดธาตุอาหาร
ได้ครบทุกชนิด ในปริมาณที่เพียงพอส�าหรับความต้องการของพืช การขนส่งไอออนหรือโมเลกุลต่างๆ
โปรตีนช่องผ่านแต่ละชนิดมีความจ�าเพาะเจาะจงระดับหนึ่งต่อสารที่ผ่าน
(1) ประเภทของโปรตีนช่องผ่าน มีการแบ่งประเภทของโปรตีนช่องผ่านตามความ
จ�าเพาะในแง่ชนิดของสาร เช่น น�้า สารไม่มีประจุและไอออน ส�าหรับไอออนก็มีความจ�าเพาะตาม ขนาด
และจ�านวนประจุของไอออนที่ยอมให้ผ่านได้ ดังนี้ (ก) ช่องผ่านส�าหรับการดูดน�้า และโมเลกุลที่ไม่มีประจุ
(ข) ช่องผ่านส�าหรับการดูดแคตไอออนเวเลนซีบวกหนึ่ง (ค) ช่องผ่านส�าหรับการดูดแคตไอออนเวเลนซี
บวกสองและมากกว่าสอง และ (ง) ช่องผ่านส�าหรับการดูดแอนไอออน (ไอออนประจุลบ)
230 หลักการธาตุอาหารพืช ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว