Page 231 -
P. 231

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                  ความจุบัฟเฟอร์ของธาตุอาหารในดินสูง ถ้าดินมีค่าความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออน (CEC)
            สูง เช่น ดินเนื้อละเอียดและมีอินทรียวัตถุสูง อย่างไรก็ตามแร่ดินเหนียวแต่ละชนิดมีค่า CEC ต่างกัน เช่น

            มอนต์มอริลโลไนต์มี CEC สูงกว่าเคโอลิไนต์ ดังนั้นสัดส่วนของแร่ดินเหนียวต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ
            ดินจึงมีความส�าคัญต่อความจุบัฟเฟอร์ของธาตุอาหารในดินด้วย
                    หากความจุบัฟเฟอร์ของธาตุอาหารหนึ่งลดลง จนไม่สามารถสนองธาตุนั้นให้แก่พืชอย่างเพียงพอ

            จ�าเป็นต้องใส่ปุ๋ยที่มีธาตุนั้นเพื่อแก้ปัญหา ดังตัวอย่างนี้
                    1) ความจุบัฟเฟอร์ของโพแทสเซียมจะสูงอยู่ได้  เมื่อสมดุลตามธรรมชาติระหว่างองค์ประกอบ

            ต่างๆ  ในดิน  ท�าให้โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินสูง  แต่ถ้ารากพืชดูดโพแทสเซียมไอออนไปใช้อย่าง
            ต่อเนื่อง จนท�าให้โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ลดลง ถึงระดับที่ไม่อาจรักษาความเข้มข้นของโพแทสเซียม
            ในสารละลายดินให้สูงเพียงพอส�าหรับพืชได้ พืชก็จะขาดแคลนโพแทสเซียม การใส่ปุ๋ยโพแทชจะช่วยเพิ่ม

            ปริมาณของโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ให้สูงขึ้นมาใหม่  เป็นการเพิ่มความจุบัฟเฟอร์ของโพแทสเซียม
            ในดินอีกครั้งหนึ่ง

                    2) ในกรณีความจุบัฟเฟอร์ของฟอสฟอรัสก็เช่นเดียวกัน เมื่อลดลงก็ต้องใส่ปุ๋ยฟอสเฟต เพื่อเพิ่ม
            ปริมาณของฟอสเฟตที่ดูดซับ  ในขณะที่ฟอสเฟตบางส่วนตกตะกอนในดิน  แต่ก็ยังมีบทบาทในการเพิ่ม
            ความจุบัฟเฟอร์ของฟอสเฟตด้วย

                    ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าความจุบัฟเฟอร์ของของธาตุอาหารในดิน  มีความส�าคัญอย่างมากต่อความ
            เป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน  และดินเหนียวมีความจุบัฟเฟอร์ของของธาตุอาหารสูงกว่าดินทราย

            (BCclay > BCsand) การใส่ปุ๋ยฟอสเฟตในดินเหนียวและดินทรายอัตราเท่ากัน ความเข้มข้นของฟอสฟอรัส
            ในสารละลายดินของดินทรายจะสูงกว่าดินเหนียว  ถ้าต้องการท�าให้ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสใน
            สารละลายดินของดินทรายเท่ากับดินเหนียว  ต้องใส่ปุ๋ยฟอสเฟตในดินเหนียวอัตราสูงกว่าดินทราย

            (Yong et al., 2012)


                                                                                               5

                                      การดูดธาตุอาหารของเซลล์พืช








                    การดูดธาตุอาหารของเซลล์ คือ กระบวนการที่เซลล์พืชดูดธาตุอาหารจากสารละลายภายนอก

            ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปสะสมภายในเซลล์  การดูดธาตุอาหารของเซลล์รากพืชจากดิน  ประกอบด้วย  3
            ขั้นตอน คือ 1) ธาตุอาหารในดินเคลื่อนย้ายมายังรากพืช 2) ธาตุอาหารเข้าไปในผนังเซลล์ และ 3) การดูด

            ธาตุอาหารโดยโปรตีนขนส่ง (transport protein) ที่เยื่อหุ้มเซลล์ (ภาพที่ 7.2) (ยงยุทธ, 2558)



                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                               หลักการธาตุอาหารพืช  227
   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236