Page 227 -
P. 227
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) ธาตุอาหารจากดิน ธาตุอาหารอื่นนอกเหนือจากคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจนแล้ว
ที่เหลืออีก 14 ธาตุพืชได้มาจากดิน
3.1 สารประกอบของธาตุอาหารที่มีในดิน
ธาตุอาหารในดินอยู่ในรูปของสารประกอบต่าง ๆ มากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และ
สารอนินทรีย์ สารประกอบเหล่านี้บางส่วนอยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ได้หรือเป็นประโยชน์ต่อพืช แต่บางส่วน
พืชดูดไปใช้ไม่ได้ หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังต่อไปนี้
3.1.1 ธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช มี 2 ส่วน คือ ไอออนของธาตุที่อยู่ในสารละลาย
ดิน กับไอออนที่แลกเปลี่ยนได้หรือไอออนที่ดูดซับอยู่ที่ผิวของคอลลอยด์ดิน
1) ไอออนในสารละลายดิน ธาตุอาหารรูปที่พืชดูดไปใช้ได้หรือเป็นประโยชน์ต่อพืชจะต้อง
เป็นเกลือที่ละลายน�้าได้และแตกตัวเป็นไอออน เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์ละลายและแตกตัวในสารละลาย
ของดิน ได้โพแทสเซียมไอออนและคลอไรด์ไอออน เมื่อเกลือละลายและแตกตัว จะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
(1) รากพืชดูดแคตไอออนและแอนไอออนไปใช้ได้ ยกเว้นโบรอนกับไนโตรเจน ซึ่งพืช
ดูดโมเลกุลของกรดบอริก (H BO ) และยูเรีย [CO(NH ) ] ได้ด้วย
3 3 2 2
(2) ส�าหรับไอออนที่มีประจุไฟฟ้าลบหรือแอนไอออน ส่วนใหญ่จะอยู่ในสารละลาย
ของดินและพืชดูดไปใช้ได้ง่าย แต่ถ้ามีน�้าไหลผ่านชั้นดิน น�้าจะชะแอนไอออนและแคตไอออนในสารละลายดิน
ให้ออกไปจากเขตราก หรือเลยไปอยู่ในน�้าใต้ดิน
2) ไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ โดยปรกติไอออนของธาตุอาหารพืชที่มีประจุไฟฟ้าบวกหรือ
แคตไอออน จะอยู่ในสารละลายของดินเพียงเล็กน้อย ส่วนมากดูดซับอยู่กับผิวของอนุภาคดินเหนียว และ
ฮิวมัสซึ่งมีประจุไฟฟ้าลบอยู่ตามผิว การที่แคตไอออนดูดซับกับดิน จะเป็นประโยชน์แก่พืช 3 ประการ คือ
(1) รากพืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้
(2) หากรากพืชดูดส่วนที่อยู่ในสารละลายของดินให้ร่อยหรอลง ส่วนที่ดูดซับกับดินก็
ยังออกมาชดเชยได้อีก เพื่อรักษาสมดุลไว้ และ
(3) ดินดูดซับไอออนประจุบวกเหล่านั้นไว้ดีพอ จึงไม่สูญหายไปง่ายๆ กับน�้าที่ชะ
ผ่านชั้นดิน
ส�าหรับไนโตรเจนรูปสารอนินทรีย์ในดินนาน�้าขังนั้น ส่วนใหญ่เป็นแอมโมเนียมไอออน
ที่แลกเปลี่ยนได้ ที่เป็นแอมโมเนียมไอออนในสารละลายดินมีเพียงเล็กน้อย ส�าหรับไนเทรตไอออน
ในดินนาน�้าขังนั้นไม่มีในดินชั้นรีดิวซ์ (reduced layer) แต่พบไนเทรตไอออนเล็กน้อยในชั้นออกซิไดส์
(oxidized layer) และบริเวณไรโซสเฟียร์ (rhizosphere) เนื่องจากบริเวณนั้นได้รับออกซิเจนที่แพร่
ออกมาจากราก
3.1.2 ธาตุอาหารซึ่งอยู่ในสารประกอบที่พืชดูดไปใช้ไม่ได้ สารประกอบหลายชนิดในดิน
มีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบ แต่มีโมเลกุลใหญ่และไม่ละลายน�้า เช่น แร่อะพาไทต์ (มีฟอสฟอรัส)
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว หลักการธาตุอาหารพืช 223