Page 224 -
P. 224
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1
ค�าน�า
หนังสือเล่มนี้มีบทที่อธิบายเรื่องธาตุอาหารของข้าว 7 บท คือ บทที่ 7 หลักการธาตุอาหาร
ของพืช บทที่ 8-13 ธาตุหลัก ธาตุรองและจุลธาตุของข้าว คือ ธาตุหลัก 3 บท (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
โพแทสเซียม) ธาตุรอง 1 บท (แคลเซียม แมกนีเซียมและก�ามะถัน) และจุลธาตุมี 7 ธาตุแยกเป็น 2 บท
และเพิ่มซิลิคอนซึ่งเป็นธาตุเสริมประโยชน์ด้วย เนื่องจากบทที่ 7 เป็นบทแรกของชุดนี้ จึงขออธิบายหลัก
การธาตุอาหารพืชซึ่งประกอบด้วย ความหมายและการจ�าแนกธาตุอาหารพืช ที่มาของธาตุอาหารและ
การดูดธาตุอาหารของเซลล์พืช แล้วจึงกล่าวถึงธาตุอาหารแต่ละธาตุของข้าวในบทต่อๆ ไปตามล�าดับ
1.1 ธาตุอาหารพืช
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะด�ารงชีวิตและเจริญเติบโตได้ ต้องได้รับอาหารที่จ�าเป็นครบทุกชนิด และ
แต่ละชนิดเพียงพอและสมดุลกัน อาหารของพืชสีเขียวมีลักษณะแตกต่างจากอาหารของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
กล่าวคือ อาหารที่พืชต้องการล้วนเป็นสารอนินทรีย์ และสารอนินทรีย์ที่พืชดูดไปใช้ประโยชน์มีองค์ประกอบ
อย่างง่ายๆ ส่วนมากอยู่ในรูปไอออนของธาตุต่างๆ บางส่วนเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ขอแต่เพียงให้มีธาตุ
ที่พืชต้องการเป็นองค์ประกอบและอยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ได้เท่านั้น
เนื่องจากในพืชมีธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบอยู่มากมายหลายธาตุ แต่ละธาตุมีไม่เท่ากัน จึง
เป็นที่สงสัยกันว่า พืชต้องการธาตุเหล่านี้ทั้งหมด เพื่อให้ด�ารงชีวิตและเจริญเติบโตได้ หรือต้องการจริงๆ
เพียงบางธาตุ ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องกันว่า พืชโดยทั่วไปต้องการเพียง 17 ธาตุ ซึ่งธาตุเหล่านี้
มีความส�าคัญต่อพืชดังนี้คือ (1) ช่วยให้พืชด�ารงชีวิตและเจริญเติบโตได้ตามปรกติ (2) แต่ละธาตุมีหน้าที่
จ�าเพาะเจาะจงในกระบวนการที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช ไม่มีธาตุอื่นใดนอกเหนือจากนี้มาท�าหน้าที่
แทนอย่างสมบูรณ์ และ (3) หากพืชขาดแคลนธาตุนั้น จะมีอาการผิดปรกติซึ่งเป็นอาการเฉพาะ และ
อาการดังกล่าวจะหาย เมื่อพืชได้รับธาตุนั้นรูปที่เป็นประโยชน์เพียงพอ จึงเรียกธาตุกลุ่มนี้ทั้ง 17 ธาตุ
รวมกันว่า “ธาตุอาหารพืช” (ตารางที่ 7.1)
220 หลักการธาตุอาหารพืช ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว