Page 228 -
P. 228
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แร่เฟลด์สปาร์ (มีโพแทสเซียม) นอกจากนี้ธาตุอาหารซึ่งมีในซากพืชที่ยังไม่สลายตัว พืชก็ดูดไปใช้
ประโยชน์ไม่ได้ แต่เมื่อสารประกอบเหล่านั้นสลายตัว ก็ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์
แก่พืช
3.2 สภาพการเคลื่อนที่ของธาตุอาหารในดิน
ธาตุอาหารในดินแบ่งตามสภาพการเคลื่อนที่ (mobility) ในดินได้เป็น 2 กลุ่ม ดังตารางที่ 7.2
คือ
1) ธาตุอาหารรูปที่เคลื่อนที่ในดินได้ง่าย เป็นแอนไอออนในสารละลายของดิน ซึ่งเคลื่อนที่
ไปในดินได้ 2 วิธี คือ (1) ไอออนแพร่ไปในสารละลายดินจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงกว่าไปยังบริเวณ
ที่มีความเข้มข้นต�่ากว่า และ (2) ไอออนเคลื่อนที่ไปกับมวลน�้าซึ่งไหลจากบริเวณที่มีศักย์น�้าสูงกว่าไปยัง
บริเวณที่มีศักย์น�้าต�่ากว่า
2) ธาตุอาหารรูปที่เคลื่อนที่ในดินได้ยาก เป็นแคตไอออนที่ดูดซับที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวและ
ฮิวมัส กับแอนไอออนที่ถูกตรึงในดินโดยท�าปฏิกิริยากับองค์ประกอบของดิน เช่น ฟอสเฟตที่ถูกตรึง
ตารางที่ 7.2 สภาพการเคลื่อนที่ของธาตุอาหารในดิน
ธาตุอาหารรูปที่เคลื่อนที่ในดินได้ง่าย ธาตุอาหารรูปที่เคลื่อนที่ในดินได้ยาก
ธาตุ รูปของธาตุ ธาตุ รูปของธาตุ
ไนโตรเจน NO - ไนโตรเจน NH +
3 4
โบรอน H BO , B O 2- ฟอสฟอรัส H PO , HPO 2-
-
3 3 4 7 2 3 3
คลอรีน Cl - โพแทสเซียม K +
ก�ามะถัน SO 2- แคลเซียม Ca 2+
4
โมลิบดีนัม MoO 2- แมกนีเซียม Mg 2+
4
สังกะสี Zn 2+
ทองแดง Cu 2+
2+
เหล็ก Fe , Fe 3+
แมงกานีส Mn 2+
นิกเกิล Ni 2+
ที่มา: Osman (2013)
224 หลักการธาตุอาหารพืช ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว