Page 238 -
P. 238

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                      3) ปัจจัยด้านพืช  ปัจจัยด้านพืชที่มีอิทธิพลต่อการดูดธาตุอาหารของรากพืช  มี  2
          ประการ  คือ

                        (1) องค์ประกอบทางพันธุกรรมของพืช  ที่ก�าหนดลักษณะของระบบราก  อันประกอบ
          ด้วยขนาด ความยาวและจ�านวนราก รวมทั้งความยาวและความถี่ของขนราก ซึ่งเป็นส่วนที่ก�าหนดพื้นที่
          ผิวรากทั้งหมดซึ่งสัมผัสกับธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์

                        (2) องค์ประกอบทางพันธุกรรมของพืช  ซึ่งก�าหนดประสิทธิภาพการท�างานของ
          โปรตีนขนส่ง รวมทั้งระบบการจัดสรรพลังงานจากเมแทบอลิซึมมาใช้ในกลไกการดูดธาตุอาหารของราก



                                                                                             6


                   ความเข้มข้นของธาตุอาหารต่างๆ ในข้าว






                  ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเนื้อเยื่อดัชนี  (index  tissue)  ที่ใช้ส�าหรับวิเคราะห์ธาตุอาหารและความ
          เข้มข้นของธาตุอาหารต่างๆ  ในข้าว  ที่ถือว่าเป็นระดับเพียงพอและระดับวิกฤติ  รวมทั้งให้ข้อมูลด้านการ

          สะสมธาตุอาหารของข้าวด้วย
               6.1 เนื้อเยื่อดัชนี

                  วิธีหนึ่งที่ใช้ในการประเมินความเพียงพอของธาตุอาหารที่พืชได้รับ คือ การวิเคราะห์เนื้อเยื่อพืช
          ทางเคมี  โดยน�าเนื้อเยื่อดัชนีของพืชมาวิเคราะห์  ส�าหรับเนื้อเยื่อดัชนีของพืช  หมายถึงเนื้อเยื่อที่เหมาะ
          ส�าหรับใช้เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุอาหาร  เนื่องจากสามารถน�าผลการวิเคราะห์

          มาแปลความหมายด้านความขาดแคลน เพียงพอและเป็นพิษได้ เนื้อเยื่อดัชนีที่ใช้ส่วนมากคือใบ จึงเรียกว่า
          ใบดัชนี  ส�าหรับใบข้าวที่ก�าหนดเป็นใบดัชนี  จะแตกต่างกันตามระยะการเจริญเติบโต  (Reuter  et  al.,

          1997) ดังนี้
                  1) ระยะแตกกอ  ใบดัชนีที่ใช้ในการวิเคราะห์  คือ  แผ่นใบของใบอายุน้อยที่สุดแต่โตเต็มที่แล้ว
          หรือใบที่เพิ่งมีการพัฒนาแล้วอย่างสมบูรณ์ มองเห็นหูใบหรือเขี้ยวใบ (auricle) ได้อย่างชัดเจน เก็บตัวอย่างใบ

          ในช่วงที่ข้าวมีการแตกกอรวดเร็วมาประมาณ  20  ใบต่อ  1  ตัวอย่าง  ส�าหรับวิเคราะห์ธาตุต่างๆ  เฉพาะ
          การวิเคราะห์ก�ามะถัน แนะน�าให้ใช้ส่วนเหนือดินแทนใบดัชนี

                  2) ระยะเริ่มมีช่อดอกอ่อน  เป็นระยะซึ่งมีดอกอ่อนที่ข้อบนสุดยาวประมาณ  2  มิลลิเมตร
          ใบดัชนีที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ แผ่นใบของใบอายุน้อยที่สุดแต่โตเต็มที่แล้ว หรือใบที่เพิ่งเจริญจนเต็มวัย
          เช่นเดียวกัน  ส�าหรับข้าวเรียกว่าแผ่นใบ  Y  (Y  blade  ซึ่ง  Y  ย่อมาจาก  youngest)  ซึ่งเห็นเขี้ยวใบ

          ที่รอยต่อระหว่างแผ่นใบกับกาบใบ  เก็บมาประมาณ 20 ใบต่อ 1 ตัวอย่าง




          234 หลักการธาตุอาหารพืช                                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243