Page 241 -
P. 241

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






            ตารางที่ 7.3  ความเข้มข้นของธาตุอาหารต่างๆ ที่ถือว่าเพียงพอส�าหรับข้าวในประเทศบราซิล


                                                       ส่วนของพืช
                  ธาตุ      ระยะการเติบโต                                  ความเข้มข้นที่เพียงพอ
                                                       ที่ใช้วิเคราะห์
                  N        ตั้งท้องแก่               ใบแก่ที่อยู่บนสุด          2.6-4.2 %

                   P       75 วันหลังหว่านเมล็ด      ส่วนเหนือดิน              0.25-0.48 %

                   K       75 วันหลังหว่านเมล็ด      ส่วนเหนือดิน               1.5-4.0 %

                  Ca       75 วันหลังหว่านเมล็ด      ส่วนเหนือดิน              0.25-0.40 %
                  Mg       75 วันหลังหว่านเมล็ด      ส่วนเหนือดิน              0.17-0.30 %

                   S       แตกแขนง                   ใบแก่ที่อยู่บนสุด         0.20-0.60 %

                  Zn       แตกแขนง                   ส่วนเหนือดิน            70-300     มก./กก.
                  Fe       แตกแขนง                   ส่วนเหนือดิน            20-150     มก./กก.

                  Mn       แตกแขนง                   ส่วนเหนือดิน           300-600   มก./กก.

                   B       แตกแขนง                   ใบแก่ที่อยู่บนสุด       20-100     มก./กก.

                  Cu       แตกแขนง                   ใบแก่ที่อยู่บนสุด        5-20         มก./กก.
                  Mo       แตกแขนง                   ใบแก่ที่อยู่บนสุด        0.5-2        มก./กก.

             ที่มา: Fageria et al. (2011): Fageria (2014)




            ธาตุอาหารในข้าวที่เคลื่อนมาย้ายมายังเมล็ด คือ ไนโตรเจน 64 %, ฟอสฟอรัส 74 %, โพแทสเซียม 15 %,
            แคลเซียม 15 %, แมกนีเซียม 58 %, สังกะสี 50 %, แมงกานีส 16 %, ทองแดง 94 %, เหล็ก 64 %

            และ โบรอน 47 %
                      ธาตุอาหารส่วนนี้ย่อมติดไปกับผลผลิตข้าวที่เก็บเกี่ยว ดังนั้นเพื่อความยั่งยืนในการปลูกข้าว
            อย่างน้อยที่สุดธาตุอาหารที่ติดไปกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตและที่สูญหายไปจากดิน ควรได้รับการชดเชย

                 6.3 การดูดสะสมธาตุอาหารของข้าว
                    การดูดสะสมธาตุอาหาร  (nutrient  uptake)  คือ  การดูดธาตุอาหารต่างๆ  แล้วสะสม

            (accumulation)  ไว้ในต้นพืช  เป็นการเริ่มสะสมตั้งแต่เมล็ดงอกจนถึงวันที่น�าตัวอย่างพืชมาวิเคราะห์
            หน่วยที่ใช้ในการรายงานการวิจัยด้านข้าวมี  2  แบบคือ  (1)  การทดลองในเรือนปลูกพืช  ใช้หน่วยปริมาณ
            ธาตุต่อข้าว 1 กอ (มก.ธาตุ/กอ) หรือ ปริมาณธาตุต่อกระถาง (มก.ธาตุ/กระถาง) และ (2) การทดลอง

            ในนา ใช้หน่วยปริมาณธาตุต่อพื้นที่ปลูก (กก.ธาตุ/ไร่) (Fageria, 2007)




                    ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว                               หลักการธาตุอาหารพืช  237
   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246