Page 153 -
P. 153
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การตอบสนองของข้าวเมื่ออยู่ในดินเค็มมี 3 แนวทาง คือ
1) การสร้างภาวะธ�ารงดุล (homeostasis) ภายในพืช ซึ่งมี 2 ส่วน คือ ภาวะธ�ารงดุลด้าน
ไอออน (ion homeostasis) และภาวะธ�ารงดุลด้านออสโมซิส (osmotic homeostasis) หรือการปรับ
ออสโมซิส (osmotic adjustment)
2) การควบคุมขอบเขตของความช�ารุดจากความเครียด (stress damage control) และการ
ซ่อมแซม (repair) หรือการถอนพิษ (detoxicification) และ
3) การควบคุมการเจริญเติบโต (growth control)
ในภาวะที่ข้าวมีความเครียดเนื่องจากความเค็มนั้น ก่อนที่ข้าวจะตอบสนองใน 3 ประการข้างต้น
ได้มีการส่งสัญญาณจากโปรตีนรับสัญญาณไปยังยีนที่เกี่ยวข้อง 3 แบบ คือ
1) สัญญาณด้านความเครียดเกี่ยวกับไอออนและด้านออสโมซิส (ionic and osmotic signaling)
เพื่อเร่งรัดในการปรับสภาพของเซลล์ให้เกิดภาวะธ�ารงดุลโดยเร็ว สามารถรับมือกับความเครียดได้
2) สัญญาณเพื่อเร่งรัดการถอนพิษ (detoxicification) เพื่อควบคุมขอบเขตความเสียหายและ
ฟื้นฟูให้หายจากการช�ารุด และ
3) สัญญาณให้เกิดการประสานอย่างพอเหมาะ ระหว่างการแบ่งเซลล์และขยายขนาดเซลล์ ให้
สอดคล้องกับภาวะความเครียดจากเกลือ
การท�างานของระบบส่งสัญญาณในพืชที่มีความเครียดจากเกลือ (salt) หรือจากการขาดน�้า
(drought) เกิดเมื่อรากพืชอยู่ในดินเค็มและมีความเครียดจากเกลือ (salt stress) ความเครียดในพืชมี 2
แบบ คือ ความเครียดด้านไอออน คือ มีโซเดียมไอออนมาก (ionic stress) และความเครียดด้านออสโมซิส
(osmotic stress) เนื่องจากความเต่ง (turgidity) ของเซลล์ลดลง โปรตีนรับสัญญาณที่เยื่อหุ้มเซลล์รับ
สัญญาณนี้แล้วส่งสัญญาณไปยังยีนที่เกี่ยวข้อง 3 แบบ และสัญญาณทั้ง 3 แบบนี้น�าไปสู่การใช้กลไกต่างๆ
เพื่อท�าให้พืชทนเค็มตามลักษณะของพืชนั้น (Zhu, 2002)
กลไกที่ข้าวใช้เพื่อลดความเสียหายจากเกลือ คือ การปรับตัวเป็นล�าดับดังนี้ คือ
1) ความแข็งแรงในระยะเป็นต้นกล้า (seedling vigor)
2) ควบคุมให้เกลือเข้าไปในเซลล์รากน้อยที่สุด
3) การจัดเก็บเกลือไว้ในระดับเซลล์ที่แตกต่างกัน (intra cellular compartmentation) และ
4) การขนส่ง (transport) และการจัดแก็บ (compartmentation) ในระดับต้นพืช
8.2.1 ความแข็งแรงในระยะเป็นต้นกล้า (seedling vigor)
ข้าวแต่ละพันธุ์มีอัตราการเจริญเติบโตต่างกัน จึงแตกต่างกันด้านความสูง ส�าหรับข้าวที่ได้
พัฒนาพันธุ์ขึ้นมาใหม่มักมีลักษณะต้นเตี้ย เพื่อให้มีดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงขึ้นและมีการล้มน้อยลง ในด้าน
ความทนเค็มของข้าว ส่วนหนึ่งพิจารณาจากความสามารถของข้าวในการมีชีวิตรอดในดินที่มีความเค็มสูง
ข้าวพื้นเมืองที่ทนเค็ม มักมีลักษณะล�าต้นสูง และความเค็มของดินมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตน้อย
ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว ดินนาที่เป็นปัญหาต่อการปลูกข้าว 149